1 |
ปกวารสารวิชาการ ปขมท. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 |
2 |
ปกหน้า-ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของมหาวิทยาลัยคริสเตียน
ผู้แต่ง:
อิทธิพร ขำประเสริฐ, สุภัสสรา วิภากูล, นันทิดา แคน้อย
Keyword:
ประสิทธิภาพ , แผนกลยุทธ์, การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
หน้า: 1 - 12
( Download: 205 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของมหาวิทยาลัยคริสเตียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของมหาวิทยาลัยคริสเตียนจำแนกตามประเภทส่วนงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 186 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามหลักการของเครซซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ การวิจัยพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของมหาวิทยาลัยคริสเตียนซึ่งอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ ( =3.82, S.D.=0.58) การมอบหมายกลยุทธ์ให้ผู้รับผิดชอบ ( =3.78, S.D.=0.63) การสื่อสารภายในองค์กร ( =3.73, S.D.=0.71) การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะสั้น/ระยะยาว ( =3.69, S.D.=0.67) และวัฒนธรรมขององค์กร ( =3.64, S.D.=0.76) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าควรจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความสามารถขององค์กร ( =3.48, S.D.=0.59) การจัดการความขัดแย้ง ( =3.45, S.D.=0.79) และการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ( =3.44, S.D.=0.83) และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สังกัดคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่สังกัดคณะวิชาต่างกัน และฝ่ายสนับสนุนวิชาการต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Download
|
5 |
ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมการตลาด พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
สันต์ทัศน์ เพ็ญจันทร์
Keyword:
นักท่องเที่ยว, ส่วนประสมการตลาด, พิพิธภัณฑ์
หน้า: 13 - 21
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมการตลาดพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา โดยนำแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการ พฤติกรรมผู้บริโภค และส่วนประสมการตลาดมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเลือกตัวอย่างแบบสุ่มตามความสะดวก สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21–30 ปี การศึกษาปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด มีวัตถุประสงค์ในการเข้าชม คือ ชมสถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนา เข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นครั้งแรก ในวันจันทร์-ศุกร์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ผู้แนะนำ/มีอิทธิพลในการเข้าชม คือ ตนเอง เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว และรู้จักพิพิธภัณฑ์จากการสอบถามบุคคลอื่น ด้านส่วนประสมการตลาด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคือ บุคลากร กระบวนการให้บริการ การนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่ต้องการมากที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ความสวยงามของเรือนโบราณล้านนา ด้านราคา คือ ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์สำหรับนักเรียน/นักศึกษา 10 บาท ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เปิดให้บริการเข้าชมวันจันทร์-อาทิตย์ ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ การพัฒนาเว็บไซต์ให้เข้าถึงข้อมูลและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดได้ง่าย ด้านบุคลากร คือ เจ้าหน้าที่แต่งกายสุภาพและเหมาะสม ด้านกระบวนการให้บริการ คือ การให้บริการมีความสะดวกสบาย และด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ คือ บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์มีความสวยงาม สงบ ร่มรื่นและมีระเบียบ
Download
|
6 |
การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562
ผู้แต่ง:
ปฐมา อาแว , นิยาวาเฮร์ ไพบูลย์
Keyword:
การตัดสินใจเลือก, ปัจจัยในการตัดสินใจ, ปริญญาตรี
หน้า: 22 - 32
( Download: 114 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจและเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่มารายงานตัว จำนวน 339 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน และสุ่มอย่างง่าย และจัดเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.944 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA. ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 92.6 โดยมีภูมิลำเนาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคใต้จังหวัดอื่น คิดเป็นร้อยละ 58.4 และ 34.2 ตามลำดับ เป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ร้อยละ 54.6 และโรงเรียนของรัฐ ร้อยละ 41.6 และเป็นผู้ที่มีความตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 59.6 และสอบผ่านการคัดเลือก TCAS ในอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 29.8 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกมากที่สุด ( = 4.35) รองลงมาคือโปรแกรม/หลักสูตร และเหตุผลส่วนตัว ( = 4.12, 3.86) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยภูมิลำเนาของนักศึกษากับปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัวมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Download
|
7 |
การพัฒนาระบบจัดการเอกสารคำสั่ง
ผู้แต่ง:
สายใจ ณ สุวรรณ, บุญศิริ บุญยก
Keyword:
ระบบสารบรรณทางอิเล็กทรอนิกส์, เอกสารคำสั่ง, ระบบสารสนเทศ
หน้า: 33 - 43
( Download: 146 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการเอกสารคำสั่ง ระเบียบวิธีการทำวิจัยใช้กรอบแนวคิดตามวงจรการพัฒนาระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ MySQL, โปรแกรมจำลองเครื่องแม่ข่ายเว็บ XAMPP, Yii Framework, โปรแกรมช่วยพัฒนาโปรแกรม NetBeans IDE และระบบ PSU Passport และประเมินความพึงพอใจระบบด้วยแบบสอบถามออนไลน์ของผู้ใช้ระบบ ผลการพัฒนาระบบจัดการเอกสารคำสั่ง สามารถจัดเก็บเอกสารคำสั่งในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถส่งสำเนาเอกสารคำสั่งให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้การส่งอีเมล ระบบช่วยประหยัดทรัพยากร บุคลากรสามารถสืบค้นเอกสารคำสั่งได้ง่าย ทุกที่ทุกเวลาด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีเงื่อนไขในการสืบค้นให้อย่างเพียงพอกับความต้องการ ระบบช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้จริง ความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.63)
Download
|
8 |
การปรับปรุงกระบวนการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผู้แต่ง:
รัตตรินทร์ เรืองแจ่ม , วงศกร จ้อยศรี
Keyword:
การประชุม, ลีน, ECRS
หน้า: 44 - 54
( Download: 148 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในการลดความสูญเปล่าประกอบด้วยการกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การกำจัดใหม่ (Rearrange) และการทำให้ง่าย (Simplify) รวมกับการนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ (ECRSIT) มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการก่อนการปรับปรุงกระบวนการ จำนวน 6 ครั้งต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558 และหลังปรับปรุงกระบวนการ จำนวน 6 ครั้งต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 เพื่อวิเคราะห์ ปรับปรุง และประเมินผลสัมฤทธิ์จากการปรับปรุงกระบวนการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านระยะเวลา สามารถลดความสูญเปล่าจากระยะเวลาที่ใช้ได้จำนวน 2,577 นาที คิดเป็นร้อยละ 57.18 โดยมีระยะเวลาก่อนปรับปรุงกระบวนการ จำนวน 77 กิจกรรม ใช้เวลาเท่ากับ 4,507 นาที ระยะเวลาหลังปรับปรุงกระบวนการด้วยหลักการ ECRSITเหลือจำนวน 22 กิจกรรม ใช้เวลาเท่ากับ 1,930 นาที (2) ด้านทรัพยากร พบว่า สามารถลดทรัพยากรกระดาษลงได้จำนวน 104,464 แผ่น คิดเป็นร้อยละ 94.28 โดยก่อนปรับปรุงกระบวนการใช้กระดาษจำนวน 110,802 แผ่น และหลังปรับปรุงกระบวนการใช้กระดาษจำนวน 6,338 แผ่น และ (3) ด้านค่าใช้จ่าย สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษลงได้เป็นเงิน 6,669.92 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 82.84 โดยก่อนปรับปรุงกระบวนการมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 8,051.61 บาทต่อปี และหลังปรับปรุงกระบวนการมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 1,381.69 บาทต่อปี และสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการจัดส่งไปรษณีย์ EMS ลงได้จำนวน 25,489.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 94.28 จากเดิมก่อนการปรับปรุงกระบวนการในปี พ.ศ. 2556-2558 มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 27,035.68 บาท และหลังปรับปรุงกระบวนการในปี พ.ศ. 2559-2561 มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 1,546.47 บาท
Download
|
9 |
การปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผู้แต่ง:
ดารินทร์ สุขแก้ว
Keyword:
ผู้บริหารสายสนับสนุน, ลีน, ECRS
หน้า: 55 - 65
( Download: 158 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุน ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุน โดยใช้แนวคิดลีน และหลักการ ECRSit โดยทำการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานด้วยแผนผังขั้นตอนการทำงาน (Work Flowchart) ขั้นตอน Value Stream Mapping (VSM) และการเขียนเส้นทางกระบวนการทำงาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการเดิมและกระบวนการใหม่ ตามหลักการ Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify and IT: ECRSit ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุน คือ หน่วยงานที่ต้องการเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุนเริ่มกระบวนการคัดเลือกล่าช้า เนื่องจากไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินงาน ไม่มีผู้สมัคร ตำแหน่งที่เปิดรับไม่เป็นที่สนใจของบุคลากร ไม่มีการเตรียมความพร้อมบุคลากรภายในเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง กระบวนการคัดเลือกมีความซ้ำซ้อนกัน รูปแบบหลักเกณฑ์การคัดเลือกไม่ทันสมัย ขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน และไม่มีการกำหนดรอบการประชุมไว้ล่วงหน้า เมื่อทำการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน และหลักการ ECRSit มาปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถลดกิจกรรมในกระบวนการทำงานจากเดิม 246 กิจกรรม เหลือเพียง 114 กิจกรรม หรือลดกิจกรรมการทำงานลงได้ 132 กิจกรรม คิดเป็นลดลงร้อยละ 53.66 และลดระยะเวลาการทำงานจากเดิม 18,807 นาที เหลือเพียง 9,257 นาที หรือลดระยะเวลาการทำงานลงได้ 9,550 นาที คิดเป็นลดลงร้อยละ 50.78 ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวทำให้สถาบันสามารถคัดเลือกผู้บริหารสายสนับสนุนได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีการนำระบบ IT มาใช้ (HRMSe-doc MIS e-mail file scan) ทำให้สามารถลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนลงได้ ลดการรอคอย และทำให้ได้ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง
Download
|
10 |
การสำรวจความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
ประทุมวรรณ มูลศรี, โสภณ เครือแก้ว
Keyword:
ระบบการลางานออนไลน์, ความพึงพอใจ, การบริการ, ระบบสารสนเทศ, ระบบออนไลน์
หน้า: 66 - 75
( Download: 146 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 54 คน ที่เข้าใช้ระบบการลางานออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นระยะเวลา 11 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจออนไลน์ (Google form) ความพึงพอใจต่อระบบ โดยกำหนดมาตราส่วนประมาณค่าเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีการเข้าใช้ระบบการลางานออนไลน์ด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบปฏิบัติการ windows เปิดด้วยโปรแกรม Google chrome มากที่สุด สำหรับความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (S.D. =0.77) ด้านความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (S.D. =0.64) ด้านการออกแบบ โดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (S.D. =0.69) และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (S.D. =0.54) จากผลการวิจัยจึงสรุปได้ว่า บุคลากรผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยจึงนำข้อมูลจากผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบการลางานออนไลน์ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Download
|
11 |
พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
ปรารถนา เอนกปัญญากุล, สุภินดา ศิริลักษณ์, ภัทรวีร์ ดามี
Keyword:
พฤติกรรมการใช้สมุนไพร, การดูแลสุขภาพตนเอง
หน้า: 76 - 90
( Download: 111 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Research study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2562 – มกราคม 2563 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร 3. ความคิดเห็นต่อการใช้สมุนไพร 4.พฤติกรรมการใช้สมุนไพร และ 5. อุปสรรคปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้สมุนไพร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาโดยรวม 0.808 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติการทดสอบของฟิชเชอร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.86 ปี ช่วงอายุ 20-29 ปี มีมากที่สุด มีประสบการณ์เคยใช้สมุนไพร ร้อยละ 96.9 มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรฯ ในระดับต่ำ (ใช้น้อย) ร้อยละ 96.2 เมื่อมีการเจ็บป่วยเลือกใช้สมุนไพร/ยาแผนไทยในการรักษา เพียงร้อยละ 3.1 โดยเลือกใช้รูปแบบแคปซูล ร้อยละ 41.9 มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรฯ อยู่ในระดับต่ำ มีความคิดเห็นด้วยต่อการใช้สมุนไพรฯ อยู่ในระดับปานกลาง การเปิดรับสื่อภาพรวมอยู่ในระดับต่ำโดยอายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านความรู้ ความคิดเห็น และการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรฯ อย่างนัยสำคัญทางสถิติ 0.001ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพของประชาชน
Download
|
12 |
แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสีย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้แต่ง:
วรรณภา บุตรโคตร
Keyword:
ของเสีย, การจัดการของเสีย, คณะแพทยศาสตร์
หน้า: 91 - 101
( Download: 163 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านปริมาณ องค์ประกอบ และประเภทของเสียที่เกิดภายในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เสนอแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจัดการของเสีย จากการเก็บข้อมูลพบว่า คณะแพทยศาสตร์มีปริมาณของเสียเฉลี่ย 196.04 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ ของเสียสารเคมีอันตราย ปริมาณเฉลี่ย 3.06 กิโลกรัมต่อวัน ของเสียติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ ปริมาณเฉลี่ย 13.73 กิโลกรัมต่อวัน ของเสียทั่วไป ปริมาณเฉลี่ย 155.53 กิโลกรัมต่อวัน และขยะรีไซเคิล ปริมาณเฉลี่ย 23.72 กิโลกรัมต่อวัน ปัญหาที่พบ คือ ไม่มีการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยที่ชัดเจน และมีภาชนะรองรับไม่เพียงพอต่อขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน จึงได้ดำเนินการวางถังขยะแบบแยกสีตามประเภทของเสียที่ชัดเจนขึ้น เพิ่มถังขยะรีไซเคิลเข้าไปตามจุดต่าง ๆ มีการให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทขยะและการจัดการของเสียกับแม่บ้าน ส่วนของเสียสารเคมีอันตรายให้มีการกำจัดของเสียเบื้องต้นเพื่อให้ปริมาณของเสียลดน้อยลง ทำให้ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นลดลงจากเดิมร้อยละ 28.88 โดยมีปริมาณเฉลี่ย 139.43 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งเป็นของเสียสารเคมีอันตราย ปริมาณเฉลี่ย 2.85 กิโลกรัมต่อวัน ของเสียติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ ปริมาณเฉลี่ย 12.67 กิโลกรัมต่อวัน ของเสียทั่วไป ปริมาณเฉลี่ย 110.00 กิโลกรัมต่อวัน และขยะรีไซเคิล ปริมาณเฉลี่ย 13.91 กิโลกรัมต่อวัน จึงควรมีการรณรงค์เกี่ยวกับการแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกตามระบบถังที่จัดไว้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการของเสียภายในคณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
Download
|
13 |
การศึกษาศักยภาพการวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหาร ด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปาริดา จันทร์สว่าง
Keyword:
การสั่นทางพลวัต, การคืบและการคืน, อาหาร , รีโอมิเตอร์
หน้า: 102 - 111
( Download: 467 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ความหลากหลายของตัวอย่างอาหารที่นำมาตรวจวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังมีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้เนื่องจากผู้รับบริการยังไม่ทราบถึงศักยภาพการใช้เครื่องรีโอมิเตอร์ในการวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหารชนิดต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับการให้บริการของตัวอย่างที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาศักยภาพการวิเคราะห์สมบัติ วิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหารที่แสดงพฤติกรรมเชิงรีโอโลยีที่หลากหลายด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในตัวอย่างที่มีสถานะของเหลวและของเหลวกึ่งแข็ง โดยทดสอบการสั่นทางพลวัต (ความถี่ 0.1-100 rad/s) และการทดสอบการคืบและการคืน (ความเค้นเฉือน 10 Pa 200 วินาที) ผลการศึกษาพบว่า น้ำเชื่อมช็อกโกแลต และสตาร์ชมันสำปะหลัง ร้อยละ 6 มีสมบัติ วิสโคอิลาสติกคล้ายของไหล(tand≈1) แป้งถั่วเขียว ร้อยละ 6 ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ แป้งกล้วย ความเข้มข้นร้อยละ 6 แป้งข้าวโพด ร้อยละ 6 และมายองเนส และโดขนมปังที่มีลักษณะคล้ายเจลอ่อน (0.15≤tand≤0.88) เจลลี่และวุ้นอ่อนมีสมบัติคล้ายเจลที่แท้จริง นอกจากนี้เครื่องรีโอมิเตอร์ยังมีศักยภาพในการทดสอบการคืบและการคืนโดยพบว่า ตัวอย่างเจลสตาร์ชมันสำปะหลัง ร้อยละ 8 เจลสตาร์ชข้าวเหนียวร้อยละ 8 เจลสตาร์ชข้าวหอมมะลิ ร้อยละ 8 โดขนมปัง ไส้กรอก ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นปลา และปูอัดมีลักษณะเป็นวิสโคอิลาสติก ตามรูปแบบของ Berger model ลูกชิ้นปลามีความเป็นวัสดุอิลาสติกสูงสุด (G0=9.5x104 Pa) โดขนมปังมีความเป็นวิสโคอิลาสติกสูงสุด (T1=30 s) ซึ่งเครื่องรีโอมิเตอร์ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถรองรับการตรวจวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในอาหารที่หลากหลายได้
Download
|
14 |
แบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทาน สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
ผู้แต่ง:
อรรถพล จันทร์สมุด
Keyword:
แบบจำลองระบบสารสนเทศ, การจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทาน
หน้า: 112 - 121
( Download: 124 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยเกี่ยวกับแบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทานสำหรับสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญสำหรับการใช้แบบจำลองให้เกิดประสิทธิภาพรวมถึงการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงจากการค้นหาทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันอุดมศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินแบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประชากร คือ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านห่วงโซ่อุปทาน จำนวน 5 ท่าน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 2 ท่าน ด้านงานวิจัย จำนวน 3 ท่าน รวมผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดจำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ประเมินความเหมาะสมของแบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเหมาะสมขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบของผู้ส่งมอบ ผู้ผลิตงานวิจัย ลูกค้างานวิจัย และผู้บริโภค สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินผลแบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาใช้วิธีทดสอบแบบแบล็กบ็อกซ์ (Black Box Testing) ผลการประเมินแบบจำลองภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 สรุปว่าสามารถนำแบบจำลองระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศได้
Download
|
15 |
การประเมินผลโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ทำหน้าที่เลขานุการ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
ธเนศ ดาวรุ่งโรจน์, จตุรงค์ ตันนุกูล, สุรีย์ วงศ์อกนิษฐ์, กนกวรรณ นาควารี
Keyword:
การประเมินโครงการ, การฝึกอบรม, เลขานุการ, การประเมินคุณภาพการศึกษา
หน้า: 122 - 128
( Download: 125 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองและแนวคิดของเคิร์กแพทริค โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อประเมินด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ของผู้ทำหน้าที่เลขานุการเข้ารับการฝึกอบรม รุ่นที่ 1-2 จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินด้านปฏิกิริยา แบบประเมินด้านพฤติกรรม แบบประเมินด้านผลลัพธ์ และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินด้านปฏิกิริยา ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1) ควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2) ควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน จะทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะบรรยากาศการประเมินฯ ในแต่ละหลักสูตร พบปัญหาที่แตกต่างกันและวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
Download
|
16 |
การวิเคราะห์การบริหารงบประมาณเงินรายได้ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562
ผู้แต่ง:
ประคุณ ศาลิกร
Keyword:
วิเคราะห์งบประมาณ, การพยากรณ์แนวโน้มเชิงเส้นตรง, การบริหารงบประมาณ
หน้า: 129 - 140
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แผน-ผลการบริหารงบประมาณเงินรายได้ของคณะประมง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2562 และ 2) วิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มรายรับ-รายจ่ายจริงงบประมาณเงินรายได้คณะประมง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 ข้อมูลที่ใช้ คือ แผนการบริหารงบประมาณเงินรายได้ และข้อมูลรายรับ-รายจ่ายจริงของคณะประมง ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 - 2562 โดยใช้เทคนิคการเปรียบเทียบข้อมูลและเทคนิคการพยากรณ์แนวโน้มเชิงเส้นตรงมาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์พบว่าคณะประมงมีผลการบริหารงบประมาณเงินรายได้เกินดุลทุกปีงบประมาณ ซึ่งในระยะ 2-3 ปีงบประมาณแรกมีผลการบริหารงานสูงกว่าแผน ในขณะที่ในระยะ 2 ปีงบประมาณหลังมีผลการบริหารงานต่ำกว่าแผน โดยในด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยมีรายรับและรายจ่ายต่ำกว่าแผน ด้านการบริการวิชาการแก่สังคมมีรายรับและรายจ่ายสูงกว่าแผน ด้านบริหารจัดการมีรายรับสูงกว่าแผนในขณะที่มีรายจ่ายต่ำกว่าแผนและมีแนวโน้มสูงขึ้นจากงบบุคลากรและงบดำเนินงาน ในส่วนแนวโน้มรายรับ-รายจ่ายจริง คาดว่าคณะประมงจะมีรายรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 4.08 ต่อปีงบประมาณ และมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 0.27 ต่อปีงบประมาณ ดังนั้นคณะประมงควรนำผลการบริหารงบประมาณเงินรายได้ในแต่ละปีงบประมาณ มาประเมินและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อประกอบการแก้ไขปัญหาและเพื่อการจัดทำแผนการบริหารงบประมาณเงินรายได้ รวมทั้งควรกำหนดแนวทางการจัดหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยเงินรายได้ที่มีแนวโน้มลดลงในบางพันธกิจ ในขณะที่มีแนวโน้มรายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Download
|
17 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แต่ง:
อรนงค์ ศรีจารุเดช
Keyword:
ปัจจัยที่ส่งผล, การตัดสินใจ, เลือกหอพัก, นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน้า: 141 - 149
( Download: 162 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 381 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ 0.248-0.89 และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับจากการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมปัจจัยทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.47) โดยให้ความสำคัญปัจจัยรายด้านอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน คือ ด้านบุคลากรหรือพนักงาน ( = 4.09, S.D. = 0.64) ด้านราคา ( = 4.07, S.D. = 0.81) ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ ( = 4.01, S.D. = 0.67) ด้านกระบวนการบริการ ( = 3.99, S.D. = 0.67) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( = 3.93, S.D. = 0.60) ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ ( = 3.56, S.D. = 0.78) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหอพักน้อยที่สุด คือ ด้านส่งเสริม การขาย อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35, S.D. = 0.80) ผลการวิจัยครั้งนี้กองบริการหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นข้อมูลและข้อเสนอในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการหอพักนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษา
Download
|
18 |
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานและบรรยากาศองค์กรต่อคุณภาพชีวิต การทำงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
เวธกา กลิ่นวิชิต, สรร กลิ่นวิชิต, เบญจมาศ อุสิมาส , กัณญณัฐ ศรีนวล
Keyword:
คุณภาพชีวิตการทำงาน , ลักษณะงาน , บรรยากาศองค์กร , บุคลากรทางการแพทย์
หน้า: 150 - 165
( Download: 119 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วิจัยสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นบุคลากรต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ลักษณะงานบรรยากาศองค์กรตามปัจจัยส่วนบุคคล หาความสัมพันธ์และสมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงาน ประชากร คือ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2562 จำนวน 662 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 242 คนเก็บข้อมูลได้จริง 224 คน (92.56%) เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่วิธี Scheffe ทดสอบไคสแควร์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นบุคลากรต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์กร อยู่ระดับปานกลาง ลักษณะงาน ระดับสูง เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ช่วงอายุ การศึกษา ประเภทบุคลากรตามสายปฏิบัติงาน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.01,0.05 และ 0.01 ลักษณะงาน ไม่แตกต่างกัน บรรยากาศองค์กร ช่วงอายุ การศึกษา ประเภทบุคลากรตามสายปฏิบัติงาน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.01, 0.05 และ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาและประเภทบุคลากรตามสายปฏิบัติงานสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ลักษณะงาน สัมพันธ์ทางบวกระดับ ปานกลางกับคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์กรสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง สำหรับปัจจัยลักษณะงานและบรรยากาศองค์กรที่สามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานได้สูงถึงร้อยละ 70.90 มี 5 ตัวแปร ดังนี้ ด้านลักษณะงาน ได้แก่ โอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (X5) ด้านบรรยากาศองค์กร ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา (X10) ความอบอุ่นและการสนับสนุน (X9) การควบคุม (X11) และการให้รางวัล (X8) สมการพยากรณ์คุณภาพชีวิต การทำงานบุคลากร คือ Ŷ = 0.878 + 0.220(X10) + 0.194(X9) + 0.137(X11) + 0.117(X5) + 0.097(X8)
Download
|
19 |
การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการบริหารเงินสำรองจ่าย ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
ชาลินี ทองใบ, ยุพาวดี แก้วกุล, อริยา พุ่มพวง, สุภาพร สีบุญ
Keyword:
เงินสำรองจ่าย, การจ่ายเงิน, การเบิกเงิน, เบิกเงินชดเชย
หน้า: 166 - 174
( Download: 120 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารเงินสำรองจ่าย ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเงินสำรองจ่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ตารางบันทึกข้อมูลขั้นตอนการเบิกค่าใช้จ่ายและประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดผังก้างปลา ร่วมกับ Why-Why analysis ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่ส่งผลให้วงเงินสำรองจ่ายคงเหลือไม่เพียงพอและ ทำให้ผู้เบิกเงินได้รับเงินล่าช้า ดังนี้ 1) ปัญหาในการจัดทำเอกสารล่าช้า ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ถูกส่งกลับมาแก้ไข สาเหตุจากการจัดเรียงเอกสารขอเบิกเงินทับซ้อนกับเอกสารอื่น ขาดความละเอียดรอบคอบ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานใหม่ 2) ปัญหาการจ่ายเงินล่าช้า เกิดจากผู้ปฏิบัติงานต้องไปปฏิบัติงานภาระงานอื่นนอกสถานที่ตั้ง และขาดการวางแผนในการปฏิบัติงาน 3) ปัญหาเกี่ยวกับเกณฑ์ระยะเวลาในการจัดทำเอกสารยังไม่เหมาะสม ขั้นตอนการจ่ายเงินกรณีชดใช้สัญญายืมเงิน และขั้นตอนการเบิกเงินชดเชยเงินสำรองจ่ายประเภทเงินสวัสดิการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวทางการพัฒนาระบบเงินสำรองจ่าย ดังนี้ 1) จัดทำระบบพี่เลี้ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ เพื่อเพิ่มความรู้ และลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน 2) จัดทำแผนการปฏิบัติงานกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง 3) ปรับเกณฑ์ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการจ่ายเงินกรณีชดใช้สัญญายืมเงิน และขั้นตอนการเบิกเงินชดเชยเงินสำรองจ่ายประเภทเงินสวัสดิการ
Download
|
20 |
การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ผู้แต่ง:
รัตนา ปานภู่ทอง
Keyword:
ต้นทุนต่อหน่วย, การผลิตบัณฑิต, นิสิตคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน้า: 175 - 183
( Download: 112 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แหล่งข้อมูลได้มาจาก 1) งบประมาณรายจ่ายจริงที่เกิดขึ้นของหน่วยงาน โดยการดึงข้อมูลจากระบบบัญชี 3 มิติ ประกอบด้วย งบบุคลากร งบดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคา งบเงินอุดหนุน และงบกลาง 2) งบประมาณรายจ่ายจริง ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานสนับสนุนที่ใช้ร่วมกัน ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี สำนักหอสมุด และบัณฑิตวิทยาลัย 3) จำนวนนิสิตเต็มเวลา ของนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามเกณฑ์จำนวนหน่วยกิตมาตรฐานของการลงทะเบียนของคณะศึกษาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม Microsoft excel และนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 9 หลักสูตร มีต้นทุนผลผลิตโดยรวม เป็นเงิน 230,063,889.79 บาท และต้นทุนต่อหน่วย เป็นเงิน 291,467.31 บาท 2) การเรียนการสอนระดับปริญญาโท จำนวน 13 หลักสูตร มีต้นทุนผลผลิตโดยรวม เป็นเงิน 76,308,320.23 บาท และต้นทุนต่อหน่วย เป็นเงิน 313,458.43 บาท และ 3) การเรียนการสอนระดับปริญญาเอก จำนวน 7 หลักสูตร มีต้นทุนผลผลิตโดยรวม เป็นเงิน 25,625,928.43 บาท และต้นทุนต่อหน่วย เป็นเงิน 272,819.42 บาท
Download
|
21 |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสารบรรณ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียน
ผู้แต่ง:
สุภัสสรา วิภากูล, มณีวรรณ แก้มดุ, รัชเกล้า นนทะวงศ์
Keyword:
ความรู้และพฤติกรรม , งานสารบรรณสถาบันอุดมศึกษา
หน้า: 184 - 193
( Download: 117 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสารบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียน รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสารบรรณของมหาวิทยาลัยคริสเตียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยคริสเตียนที่ปฏิบัติงานสารบรรณ จำนวน 92 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามหลักการของเครจซีและมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวนเกินครึ่งเป็นเพศหญิง ร้อยละ 91.30 ที่เหลือเป็นเพศชาย ร้อยละ 8.70 กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุดมีอายุระหว่าง 25-30 ปี ร้อยละ 31.50 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 71.70 มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยคริสเตียนระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 43.50 และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับงานสารบรรณอยู่ระหว่าง 1-3 ปี ร้อยละ 26.10 ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.74) และมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสารบรรณอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = 0.65) และพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยคริสเตียน และประสบการณ์ทำงานสารบรรณมีความสัมพันธ์ต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสารบรรณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Download
|
22 |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนิสิตปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ผู้แต่ง:
ขจรศักดิ์ เพ็ชรรัตน์
Keyword:
การตัดสินใจ, ปริญญาตรี, ความคาดหวัง, คุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
หน้า: 194 - 205
( Download: 143 ครั้ง )
|
Download
|
23 |
การวิเคราะห์งานซ่อมอุปกรณ์ไอที ที่ใช้ระบบบริหารงานซ่อมอุปกรณ์ไอที (IT-Service): ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
เกียรตินิยม ขันตี, พอตา บุนยตีรณะ
Keyword:
วิเคราะห์งานซ่อม, อุปกรณ์ไอที, ระบบบริหารงานซ่อมอุปกรณ์ไอที
หน้า: 206 - 216
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์งานซ่อมอุปกรณ์ไอทีที่ใช้ระบบบริหารงานซ่อมอุปกรณ์ไอที (IT-Service)” ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งานซ่อมอุปกรณ์ไอทีที่ใช้ระบบบริหารงานซ่อมอุปกรณ์ไอที (IT-Service)โดยใช้วิธีการวิจัยจากข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data Research) ที่เก็บรวบรวมจากฐานข้อมูลระบบแจ้งซ่อมอุปกรณ์ไอทีในกลุ่มของปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และพีเพิลแวร์ (Peopleware) นำมาประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel หาความถี่ (Frequency) ที่ใช้ในการอธิบายจำนวนการแจ้งซ่อมผ่านระบบแสดงข้อมูลในรูปตารางและแผนภูมิหาคารอยละ (Percentage) ที่ใชในการอธิบายสัดส่วนการแจ้งซ่อมในแต่ละประเภทของอุปกรณ์ไอทีและใช้คาเฉลี่ย (Mean) เพื่อวิเคราะหและอธิบายประสิทธิภาพการให้บริการและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) นำผลจากการปรับปรุงแก้ไขมาเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเองได้ ผลการวิจัยพบว่าการให้บริการด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) พีเพิลแวร์ (Peopleware)เมนเทนแนนซ์ (Maintenance) และการบริการ (Service) ตามความถี่ในเวลาทำการช่วงเช้า-บ่ายและนอกเวลาราชการ รวมจำนวนครั้งของกระบวนการให้บริการในระบบแจ้งซ่อม มีถึง2,772 ครั้ง ปัญหาที่ได้รับการแจ้งซ่อมด้านพีเพิลแวร์ (Peopleware) มากที่สุดในปี 2560 มีจำนวน 59 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 22.18 และ ปี 2561 มีจำนวน 53 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.81 ในทุกสาเหตุจากปัญหาย่อยจึงได้นำมาจัดกลุ่มได้ 17 กลุ่มเฉลี่ยจำนวนแจ้งซ่อมช่วง 4 ปี มีจำนวน 558 ครั้ง
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ |
25 |
ปกหลัง-รายนามผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ 9(2)2563 |
26 |
ปกหลัง |