เกี่ยวกับวารสาร


หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
 
 
     วารสารวิชาการ ปขมท. จัดทำขึ้นโดยที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งวารสารมีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)
 
     บทความและบทความวิจัยที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ปขมท. นี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer review) ก่อน จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน และผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind) และผู้ประเมินไม่อยู่ในสังกัดเดียวกับผู้เขียนบทความ 
 
     ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ สามารถส่งบทความวิชาการหรือบทความวิจัย (ทางออนไลน์เท่านั้น) ได้ที่ http://www.council-uast.com โดยการไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น การเตรียมต้นฉบับที่จะมาลงตีพิมพ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ 
 
การเตรียมต้นฉบับสำหรับบทความ
1. ต้นฉบับเรื่องเต็ม จำนวน 6-15 หน้า
2. พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์ เวิร์ด (Microsoft Word for Windows) เวอร์ชัน2007 หรือ เวอร์ชันใหม่กว่า โดยใช้รูปแบบฟอนต์เป็น TH SarabunPSK เท่านั้น ยกเว้นตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ ให้ใช้รูปแบบฟอนต์เป็น Symbol เท่านั้น
3. ขนาดกระดาษต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 ระยะขอบ ด้านบน 1 นิ้ว ด้านล่าง0.75 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้ว ด้านขวา 0.75 นิ้ว ขอบเย็บกระดาษ 0 นิ้ว หัวกระดาษ 0.5 นิ้ว ท้ายกระดาษ 0.5 นิ้ว
4. ชื่อเรื่อง: อยู่ชิดขอบบนของหน้า มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องแต่ละภาษามีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด กำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 points พิมพ์ตัวหนา (Bold) กำหนดระยะห่างบรรทัด เป็นค่าแน่นอนขนาด 18 points และจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ หากมีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ให้ใช้ฟอนต์ Symbol ขนาด 12 points หรือขนาดตัวอักษรเท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น
5. ชื่อผู้เขียนและคณะ: เว้น 1 บรรทัดจากชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อเต็มภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ครบทุกคน และต้องใส่เชิงอรรถ เป็นแบบลำดับตัวเลข (ยกกำลัง) กำกับไว้ท้ายนามสกุลให้ครบทุกคน ชื่อผู้เขียนกำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 12 points พิมพ์ตัวหนา กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็นค่าแน่นอนขนาด 12 points จัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ
6. การแทรกเชิงอรรถให้ใช้แบบ ลำดับตัวเลขอัตโนมัติ โดยใช้ฟอนต์แบบ TH SarabunPSK ขนาด 12 points กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็น ค่าแน่นอนขนาด 12 points และจัดข้อความชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ
7. บทคัดย่อ (Abstract): มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขึ้นด้วยบทคัดย่อภาษาไทยก่อนแล้วจึงตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
8. คำว่า "บทคัดย่อ" และ "Abstract" ให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 points และพิมพ์ตัวหนา กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็นค่าแน่นอนขนาด 18 points จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาของตัวบทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็น ค่าแน่นอนขนาด16 points และบรรทัดแรกของย่อหน้าให้เยื้องมาทางขวา 0.5 นิ้ว และจัดข้อความในแต่ละย่อหน้าแบบข้อความชิดขอบ หากมีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์หรืออักษรกรีก ให้ใช้ฟอนต์Symbol ขนาด 12 points หรือขนาดที่เท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น บทคัดย่อไม่ควรเกิน 300 คำ
9. คำสำคัญ (Keywords): ให้พิมพ์ต่อจากส่วนของบทคัดย่อและ Abstract ก่อนขึ้นส่วนของเนื้อหา ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความจำนวน 3-5 คำ ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points
10. เนื้อหา (Text): ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ บทนำ วัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
11. บทนำ วัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง กำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 points พิมพ์ตัวหนา กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็นค่าแน่นอนขนาด18 points จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษส่วนของเนื้อหาข้อความในแต่ละย่อหน้า กำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็นค่าแน่นอน ขนาด16 points บรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้าให้เยื้องเข้ามาทางขวา 0.5 นิ้ว และจัดข้อความแต่ละย่อหน้าแบบข้อความชิดขอบ (Justified) หากมีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์หรืออักษรกรีกให้ใช้ฟอนต์ Symbol ขนาด 12 points หรือขนาดตัวอักษรที่เท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดเดียวกัน
   11.1 บทนำ: เพื่อกล่าวถึงปัญหา ที่มา และรวมถึงการตรวจเอกสาร (Literature review) ด้วย
   11.2 วัตถุประสงค์การวิจัย: ควรเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง และความเหมาะสมกับกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้สามารถใช้วัตถุประสงค์เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการวิจัยได้
   11.3 ระเบียบวิธีวิจัย: ควรระบุเกี่ยวกับ ประชากรที่ศึกษา ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
   11.4 ผลการวิจัย: เป็นการเสนอผลของการวิจัย ควรควบคู่ไปกับการใช้ตาราง หรือภาพประกอบการอธิบายและนำเสนอในรูปแบบของสีขาวดำเท่านั้น และตัวอักษรต่างๆ ใน ตาราง และภาพ ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น โดยใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points กำหนดระยะห่างบรรทัด เป็นค่าแน่นอนขนาด 16 points หรือน้อยกว่า หากมีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ให้ใช้ฟอนต์ Symbol ที่มีขนาดเท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น
   11.5 อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ: ชี้แจงว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
   11.6 สรุปผลการวิจัย: เป็นการย่อสาระสำคัญและประจักษ์พยานของผลการวิจัย
   11.7 กิตติกรรมประกาศ: อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยและการเตรียมเอกสารลุล่วงไปด้วยดี แต่มิได้เป็นผู้ร่วมทำงานวิจัยด้วย
   11.8 เอกสารอ้างอิง: การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้ระบบชื่อและปี (name-and-year system) เช่น จินดำ (2536) รายงานว่า…….... หรือ………….... (ศิวาพร และ สลักจิต, 2536)
ในกรณีเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาใดๆ ที่เขียนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษแล้วตามด้วย ค.ศ. เช่น Jackson (1967)………... หรือ……….... (Murashige and Skoog, 1962)
ในกรณีที่มีผู้แต่งตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้ใช้ และคณะ เช่น สมศรี และคณะ(2530)…... หรือ……..... (สมศรี และคณะ, 2530) ถ้าเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาใดๆ ที่เขียนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษให้ใช้ et al. ต่อท้ายผู้แต่งคนแรก เช่น Schaad et al. (1992) หรือ….... (Schaad et al., 1992) และให้ใส่ชื่อครบทุกคนในบัญชีเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง
ในบัญชีเอกสารอ้างอิง ซึ่งปรากฏอยู่ท้ายเรื่อง กำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 12 points กำหนดระยะห่างบรรทัดเป็นค่าแน่นอน ขนาด 13 points การพิมพ์เอกสารอ้างอิงแต่ละฉบับให้พิมพ์แบบหน้าลอย โดยบรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละฉบับ ให้พิมพ์ชิดขอบซ้ายของหน้า ส่วนบรรทัดที่เหลือของฉบับนั้น ให้เยื้องเข้ามาทางขวา 0.5 นิ้ว และจัดข้อความแต่ละย่อหน้าแบบข้อความชิดซ้าย ห้ามจัดแบบกระจาย หากมีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์หรืออักษรกรีก ให้ใช้ฟอนต์ Symbol ขนาด 10 points หรือขนาดเท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น
การเรียงลำดับเอกสารอ้างอิง ให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยขึ้นก่อนและตามด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ และไม่ต้องใส่หมายเลขนำหน้า ให้แสดงเฉพาะเอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อเรื่องเท่านั้น โดยเรียงลำดับดังนี้
เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อ และตามด้วยปี พ.ศ. ที่ตีพิมพ์
เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อสกุล (ถ้ามีหลายคนให้เรียงไปตามลำดับ) และตามด้วยปี ค.ศ. ที่ตีพิมพ์ (เรียงจากปีเก่า มาปีที่ใหม่สุด ตามลำดับ)
12. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
   12.1 สำหรับวารสาร (Journal)
   วารสารภาษาไทย
ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล. ปี พ.ศ.. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร (ใช้ชื่อเต็ม). ปีที่(ฉบับที่): หน้า. DOI (ถ้ามี).
   วารสารภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น
ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง., ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล. ปี ค.ศ.. ชื่อเรื่อง (ตัวอักษรแรกที่ขึ้นต้นประโยคเท่านั้นที่เป็นอักษรพิมพ์ใหญ่). ชื่อวารสาร (ใช้ชื่อเต็ม). ปีที่(ฉบับที่): หน้า. DOI (ถ้ามี).
   12.2. ตำรา (Text books)
   ตำราภาษาไทย
ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล. ปี พ.ศ.. ชื่อหนังสือ. สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์. จำนวนหน้า.
   ตำราภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น
ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง., ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล. ปี ค.ศ.. ชื่อหนังสือ. สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์. จำนวนหน้า.
   12.3. ตำรา (Text books) ที่มีผู้เขียนในแต่ละบท
   ตำราภาษาไทย
ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล ของบทที่อ้าง. ปี พ.ศ.. ชื่อบทที่อ้าง. หน้าบทที่ตีพิมพ์. หน้าที่พิมพ์. ใน: ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ. สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์. จำนวนหน้า.
   ตำราภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น
ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง., ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล (ของบทที่อ้าง). ปี ค.ศ.. ชื่อบทที่อ้าง. หน้าบทที่ตีพิมพ์. In: ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. ชื่อกลาง., ชื่อสกุล. อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล. (ed. หรือ eds.). ชื่อหนังสือ (ตัวอักษรแรกของแต่ละคำเป็นอักษรพิมพ์ใหญ่). สำนักพิมพ์. เมืองที่พิมพ์.
   12.4 เอกสารประกอบรายงานประชุม สัมมนา (Reports and Proceedings) ควรเรียงลำดับดังนี้
ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล. ปี พ.ศ.. ชื่อเรื่อง. หน้าที่พิมพ์. ใน: ชื่อรายงานหรือการประชุม. วัน เดือน ปี ที่จัด. สถานที่.
ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง., ชื่อสกุล. อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล. ปี ค.ศ.. ชื่อเรื่อง. หน้าที่พิมพ์. ใน: ชื่อรายงานหรือการประชุม. วัน เดือน ปี ที่จัด. สถานที่.
   12.5 ข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายทาง Internet ควรเรียงลำดับดังนี้
ชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อตัว ชื่อสกุล (ใช้ และ คั่นชื่อสุดท้าย) ชื่อตัว ชื่อสกุล. ปี พ.ศ. (ค.ศ.). ชื่อเรื่อง. [Online]. Available: http://www.………… . (สืบค้นเมื่อ เดือน ปี).
ชื่อสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง., ชื่อสกุล. อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ใช้ and คั่นชื่อสุดท้าย) อักษรตัวแรกของชื่อแรก. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. ชื่อสกุล. ปี ค.ศ.. ชื่อเรื่อง. [Online]. Available: http://www.………… . (Retrieved เดือน, ค.ศ.).
13. ตาราง และภาพ ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่อง จัดทำเป็นขาวดำเท่านั้น โดยให้ผู้เขียนบทความคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางและภาพให้ภาษาไทย ให้ใช้คำว่า ตารางที่ และ ภาพที่ ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points และพิมพ์ตัวหนา โดยชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อภาพ ให้อยู่ด้านล่าง พร้อมทั้งคำอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 points
14. การเขียนคำไทยเป็นภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมัน: ให้ใช้ระบบของราชบัณฑิตยสถาน
15. ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ยกเว้นคำเชื่อมหรือคำลักษณะเฉพาะในเนื้อหาภาษาอังกฤษในวงเล็บ ให้เป็นอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นหัวข้อชื่อเรื่องคาเฉพาะ หน่วยย่อ ไม่ใส่จุด ยกเว้นสิ้นสุดประโยคในภาษาอังกฤษ
 
 
***หลักเกณฑ์และคำแนะนำสาหรับผู้นิพนธ์บทความ และตัวอย่างการเขียนบทความ วารสารวิชาการ ปขมท

https://drive.google.com/drive/folders/138tW-vg7HRbtPI6qQDxL6WrrXKpQcioR?usp=sharing 




ระบบวารสาร

สมาชิก บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ALL : 113,531
Today : 50
Online : 4

Copyright © 2019. All Rights Reserved By Council of University Administrative Staff of Thailand
Design By :Lanna Webdesign