1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนรายวิชาภาคปฏิบัติการของนิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
ลลิต ขำวงษ์รัตนโยธิน
Keyword:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมเข้าเรียน, การเรียนภาคปฏิบัติการ, นิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์
หน้า: 1 - 11
( Download: 158 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนรายวิชาภาคปฏิบัติการของนิสิตฯ 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการในรูปแบบที่เหมาะสมสนับสนุนการเรียนรู้ของนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ นิสิตจำนวน 50 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีระดับความพร้อมก่อนเข้าเรียนในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมา คือ ระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 22 และระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 20 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนมากที่สุดคือ การศึกษาเอกสารประกอบการเรียนก่อนเข้าเรียน (ร้อยละ 86) รองลงมา คือ การศึกษาบทเรียนก่อนเข้าเรียน (ร้อยละ 84) การค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียนเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 32) และการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และการทำแผนผังการทดลอง (ร้อยละ 2) ตามลำดับ โดยมีวิธีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนด้วยการศึกษาเอกสารประกอบการเรียน มากที่สุด (ร้อยละ 42) รองลงมา คือ การศึกษาบทเรียนก่อนเข้าเรียน (ร้อยละ 31) การศึกษาทำความเข้าใจ/ความชำนาญในวิธีการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องแก้ว (ร้อยละ 14) และการมีทักษะและความรู้ความเข้าใจวิธี
การใช้งานเครื่องมือ (ร้อยละ 13) ตามลำดับ ความพึงพอใจโดยรวมในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมสูงสุดในระดับมาก (ร้อยละ 48) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 30) ระดับมากที่สุด (ร้อยละ 20) และระดับน้อย (ร้อยละ 2) ตามลำดับ โดยมีข้อเสนอแนะให้ภาควิชาฯ ปรับเปลี่ยน/พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในเรื่องของความใหม่ ทันสมัยของเครื่องมือมากที่สุด (ร้อยละ 41.68) รองลงมาคือ ความเพียงพอของเครื่องมือและอุปกรณ์ (ร้อยละ 25) และขนาดพื้นที่ห้องปฏิบัติการ การจัดวางเครื่องมือ
ความพร้อมใช้งานของเครื่องมือ ประสิทธิภาพของเครื่องมือ (ร้อยละ 8.33) ตามลำดับ
Download
|
5 |
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติกับการตัดสินใจชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ผู้แต่ง:
เอกกันต์กฤต สุขช่วย, วรรณี ใจองอาจ, อรสา ทานะขันธ์, วนิดา จำลองพันธ์, ฐิติรัตน์ แก้วสุข, มณฑิรา ปันสุข
Keyword:
ระบบอิเล็กทรอนิกส์, การรับรู้และทัศนคติ, การตัดสินใจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
หน้า: 12 - 20
( Download: 122 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และทัศนคติการชำระเงินและการตัดสินใจชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติการชำระเงินและการตัดสินใจชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา จำนวน 341 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษา เห็นด้วยเกี่ยวกับการมีการรับรู้และทัศนคติ อยู่ในระดับมาก และนักศึกษาเห็นด้วยเกี่ยวกับ การตัดสินใจชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับ การตัดสินใจชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงต้องให้ความสำคัญของการรับชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงประโยชน์และวิธีการ เพื่อให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีในการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ line และ Face book เป็นต้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา สามารถชำระเงินได้ทุกสถานที่ เช่น เคาน์เตอร์ธนาคาร ที่บ้าน ที่หอพัก เป็นต้น
Download
|
6 |
การพัฒนาห้องปฏิบัติการอิมมูโนพยาธิวิทยาตามโครงการยกระดับมาตรฐาน ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL)
ผู้แต่ง:
เสาวณีย์ เมืองจ้นทร์บุรี, พันธ์วศรี แสงสุวรรณ, ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น, สุพัตรา แก้วทะโร
Keyword:
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย , ห้องปฏิบัติการอิมมูโนพยาธิวิทยา , เอกสารแบบประเมินสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
หน้า: 21 - 30
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ห้องปฏิบัติการอิมมูโนพยาธิวิทยา สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการตรวจประเมินสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยพบว่า ก่อนการพัฒนาห้องปฏิบัติการมีคะแนนรวมทั้ง 7 องค์ประกอบเพียงร้อยละ 24.8 ด้วยระบบประเมินสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL checklist) ซึ่งจากผล การประเมินนำไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและทำการประเมิน ESPReL checklist อีกครั้ง พบว่า ผลคะแนนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.6 ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้สาขาวิชามีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย ตามนโยบายส่งเสริม ความปลอดภัยของ วช. เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการนำร่องในการขอรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบการยอมรับร่วม (peer evaluation) ของสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และวิศวกรรมชีวการแพทย์ นอกจากนี้ได้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
Download
|
7 |
การพัฒนาระบบการจองห้องออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
สุชาดา แดงอินทวัฒิน์
Keyword:
การพัฒนาระบบการจองห้อง, ระบบการจองห้อง, จองห้องออนไลน์
หน้า: 31 - 44
( Download: 226 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องในการใช้งานระบบการจองห้องออนไลน์ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจองห้องออนไลน์ 3) เพื่อประเมินระบบการจองห้องออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพระบบการจองห้องออนไลน์ แบบประเมินถามความต้องการในการใช้งานระบบการจองห้องออนไลน์ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบการจองห้องออนไลน์ และระบบการจองห้องออนไลน์ แบบประเมินความพึงพอใจได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ 3 คน ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลและดำเนินการต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 36 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.64, S.D. = 0.39) คุณภาพทางด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.42, S.D. = 0.34) และผลการวิเคราะห์ความต้องการและความพึงพอใจ ในการใช้งานระบบการจองห้องออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.51, S.D. = 0.40)
Download
|
8 |
การศึกษาแนวทางการนำผลการวิเคราะห์หน่วยนับภาระงานของบุคลากร สายวิชาการ และอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนิสิต ไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
รัตนา ปานภู่ทอง
Keyword:
หน่วยนับภาระงาน, บุคลากรสายวิชาการ, อัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนิสิต, การบริหารจัดการหลักสูตร
หน้า: 45 - 55
( Download: 198 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หน่วยนับภาระงานของบุคลากรสายวิชาการ และอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนิสิต จำแนกตามหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) ศึกษาแนวทางการนำผลการวิเคราะห์ในวัตถุประสงค์ข้อ 1 ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การบริหารจัดการหลักสูตร ผู้วิจัยใช้ข้อมูลรายวิชา จำนวนนิสิต อาจารย์ผู้สอน จากระบบทะเบียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมาวิเคราะห์หน่วยนับภาระงานและอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนิสิต โดยใช้โปรแกรม Microsoft excel นำเสนอผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์จากประธาน/อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร แล้ววิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ และสรุปผลตามประเด็น ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาระงานของบุคลากรสายวิชาการ และอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อจำนวนนิสิตทุกหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร และเกณฑ์พิจารณาอัตราส่วนของมหาวิทยาลัย 2) ผลการวิเคราะห์ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ใช้วางแผนอัตรากำลังของหลักสูตร ล่วงหน้า 1-2 ปี และพิจารณาเตรียมการเพิ่มหรือค้นหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติ มาเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในกรณีการรับนิสิตเพิ่ม หรือหลักสูตรที่ต้องดูแลนิสิตจำนวนมาก ส่วนในระดับคณะนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแผนอัตรากำลังในภาพรวมของแต่ละหลักสูตร การประเมินผลปฏิบัติงาน การจูงใจ การเพิ่มค่าตอบแทน การต่อสัญญาจ้าง รวมทั้ง การเตรียมการหาอัตรากำลังทดแทน ในกรณีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกษียณอายุราชการ หรือกรณีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรขาดหายไป และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับคณะ กรณีได้รับอัตราจัดสรรตำแหน่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัย
Download
|
9 |
การพัฒนา Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการเรียนรู้ ในการแก้ไขปัญหาการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับบุคลากรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
ชาคริต เทียนทอง
Keyword:
Chatbot, แอพพลิเคชั่น LINE , การแก้ไขปัญหาการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
หน้า: 56 - 68
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพของ Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งาน Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE 3) เพื่อออกแบบและจัดทำ Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับบุคลากร ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE แบบประเมินคุณภาพของ Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE และแบบสอบถามความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งาน Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE ซึ่งแบบประเมินทั้ง 2 ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ก่อนนำไปเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ จำนวน 108 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี ( = 4.36, S.D. =0.45) คุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( = 4.54, S.D. =0.22) และผลการประเมินความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งาน Chatbot ผ่านแอปพลิเคชัน LINE จากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63, S.D. =0.44)
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
ทนงศักดิ์ ใจชื่นแสน
Keyword:
การพัฒนาระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์, ระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์, ประกาศนียบัตรออนไลน์
หน้า: 69 - 82
( Download: 163 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องในการใช้งานระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ 2) เพื่อพัฒนาระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ 3) เพื่อประเมินระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ แบบประเมินถามความต้องการในการใช้งานระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ และระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 351 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.68, S.D. = 0.37) คุณภาพทางด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.50, S.D. = 0.38) และผลการวิเคราะห์ความต้องการและความพึงพอใจ ในการใช้งานระบบขอรับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.44, S.D. = 0.49)
Download
|
11 |
ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
จารุวรรณ รักเริ่มวงษ์
Keyword:
ความพึงพอใจของนิสิต, การจัดการเรียนการสอน, สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้า: 83 - 97
( Download: 143 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการคำนวณตามสูตรของเครจซี่และมอร์แกน โดยแบ่งออกเป็น ระดับปริญญาตรี จำนวน 311 คน และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77, S.D. =0.80) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล ( = 3.89, S.D. = 0.73) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ( = 3.57, S.D. = 0.87) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.71) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียน ( = 4.52, S.D. = 0.65) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ( = 4.25, S.D. = 0.79) และ 2) ความพึงพอใจของนิสิตต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.53, S.D. = 0.95) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการให้คำปรึกษา ( = 3.96, S.D. = 0.81) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านอุปกรณ์การศึกษา ( = 3.28, S.D. = 0.98) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.79) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการให้คำปรึกษา ( = 4.45, S.D. = 0.72) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านอุปกรณ์การศึกษา ( = 4.09, S.D. = 0.81)
Download
|
12 |
การนำระบบเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) มาใช้ในการประเมินคุณภาพ การศึกษาระดับหลักสูตร กรณีศึกษา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
Keyword:
ระบบเครือข่าย, ประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน, ระดับหลักสูตร
หน้า: 98 - 109
( Download: 629 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำระบบเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) มาใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 59 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.75-1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.81 พบว่า 1) สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน ร้อยละ 81.36 อยู่ในตำแหน่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 25 คน ร้อยละ 42.37 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 10–15 ปี จำนวน 30 คน ร้อยละ 50.85 2) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการสนับสนุนการดำเนินงานโดยการใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.74) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 7 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดถึงมาก 3) การสนับสนุนของหน่วยงานในระดับมหาวิทยาลัยและคณะที่จัดการเรียนการสอนต่อการนำเกณฑ์ AUN-QA มาพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.75) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 6 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก และ 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.74) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 6 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก
Download
|
13 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้แต่ง:
ธีรวดี ยิ่งมี
Keyword:
ปัจจัยที่ส่งผล, ตำแหน่งที่สูงขึ้น, บุคลากรสายสนับสนุน
หน้า: 110 - 118
( Download: 164 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 230 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบหาความสัมพันธ์ แบบถดถอยเชิงพหุคูณ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ 1) ปัจจัยโดยภาพรวม ด้านเจตคติต่อการทำงาน ด้านแรงจูงใจ ด้านการพัฒนาตนเองและด้านนโยบาย หลักเกณฑ์และการสนับสนุนของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ภาพรวมปัจจัยด้านเจตคติต่อการทำงาน ด้านแรงจูงใจ และด้านการพัฒนาตนเอง ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ3) ภาพรวมปัจจัยด้านนโยบาย หลักเกณฑ์และการสนับสนุนของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 17.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
14 |
การบริหารจัดการโครงการของระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ผู้แต่ง:
ปรียาภรณ์ สุขงาม, นันท์นภัส จินดา, นันท์นภัส จินดา
Keyword:
การบริการจัดการโครงการ, ระบบสารสนเทศ, เครื่องมือการบริหารจัดการโครงการ
หน้า: 119 - 129
( Download: 154 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การบริหารจัดการโครงการเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงาน หรือภายในองค์กรนั้น ๆ การบริหารจัดการโครงการที่ดีต้องอาศัยผู้บริหารจัดการที่มีความสามารถ จึงจะส่งผลให้ระบบที่พัฒนานั้นประสบผลสำเร็จได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งในทางด้านการบริหารจัดการโครงการนั้นบางครั้งจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือหรือ ซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือสำหรับทำให้การบริหารจัดการโครงการง่าย สะดวก รวดเร็ว วัดผลได้ และทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานได้รับการแก้ไข หรือลดน้อยลง อีกทั้งยังช่วยให้การวางแผนการปฏิบัติงานในอนาคตเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นยิ่งขึ้น การใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการต้องได้รับความร่วมมือระหว่างทีมพัฒนาและเจ้าของระบบ (Product Owner) ในการแบ่งงานและจัดลำดับความสำคัญของงาน วางแผนการทำงาน การวางกำลังคน การกำหนดขอบเขตของการทำงาน รวมไปทั้งจุดประสงค์ที่ชัดเจนของผู้ใช้งานเอง รายละเอียดเหล่านี้จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบและมีแบบแผนการทำงานที่รัดกุม เมื่อมีการเตรียมการแล้วและมีทีมหรือผู้รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆแล้ว ก็เป็นการเข้าสู่กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ในเอกสารเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงการบริหารจัดการโครงการของระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จะยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการปัจจุบันของผู้เขียน และยกตัวอย่างซอฟต์แวร์อื่น ๆที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันในองค์กรอื่น ๆ
Download
|
15 |
การพัฒนาระบบขอคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการขอคืนเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ผู้แต่ง:
พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา, พรรณวิภา โชคพิกุลทอง, นิรุทธ์ รวยรื่น
Keyword:
ขอคืนเงิน, ค่าธรรมเนียม, ประสิทธิภาพ
หน้า: 130 - 142
( Download: 117 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบขอคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ โปรแกรมภาษา PHP ระบบฐานข้อมูล Maria DB V.10.3.28 โดยพัฒนาเป็น Web Application หลังจากการเปิดใช้งานระบบ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั้งในมิติของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 329 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) บุคลากรกองบริหารการศึกษา จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 สิงหาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการพัฒนาระบบ พบว่า มีระบบขอคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในรูปแบบเว็บไซต์ที่ทันสมัย ตอบสนองรูปแบบการใช้งานในปัจจุบัน อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ และสะดวกแก่การใช้งานของบุคลากร 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ของการใช้งานระบบ พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการใช้งานระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิผลของระบบ พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการลดลง 42.86% ระยะเวลาลดลง 53.85-58.33% และปริมาณเอกสารแนบลดลง 45.65% จะเห็นได้ว่า ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี และรองรับการทำงานในรูปแบบออนไลน์ 100% 3) ผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Download
|
16 |
การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564
ผู้แต่ง:
จำนงค์ รักช้าง, สุมิตตรา สุพรรณ์นอก
Keyword:
ต้นทุนการผลิตบัณฑิต, ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตบัณฑิต, การปันส่วนต้นทุน
หน้า: 143 - 157
( Download: 150 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ต้นทุนต่อหน่วยเมื่อเทียบกับจำนวนนิสิตเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) และต้นทุนต่อหน่วยเมื่อเทียบกับจำนวนนิสิตหัวจริง จำแนกเป็นรายภาควิชาและภาพรวมของคณะประมง ผลการศึกษาพบว่า 1) ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของการผลิตบัณฑิตเมื่อเทียบกับค่า FTES ในภาพรวมคณะประมงเท่ากับ 0.104 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ โดยหน่วยงานที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูงที่สุด คือ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เท่ากับ 0.152 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ หน่วยงานที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำที่สุด คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เท่ากับ 0.067 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ และ 2) ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตเมื่อเทียบกับจำนวนนิสิตหัวจริงในภาพรวมคณะประมงเท่ากับ 0.079 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ โดยหน่วยงานที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูงที่สุด คือ ภาควิชาชีววิทยาประมง เท่ากับ 0.160 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ หน่วยงานที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำที่สุด คือ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เท่ากับ 0.061 ล้านบาท/คน/ปีงบประมาณ 3) ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคณะวิชาในกลุ่มสาขาเดียวกันของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
Download
|
17 |
การพัฒนาระบบลงคะแนนเสียงออนไลน์ด้วยโมบายแอปพลิเคชัน สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
พจนีย์ อังกูรดีพานิชย์, วิโรจน์ ตั้งนิติพงศ์
Keyword:
การโหวตด้วยโมบายแอปพลิเคชัน, ลงคะแนนเสียงดิจิทัล, เลือกตั้งออนไลน์, สถาปัตยกรรมเอ็มวีซี, ไอออนิกเฟรมเวิร์ก
หน้า: 158 - 171
( Download: 123 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดการเลือกตั้งของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) พัฒนาระบบลงคะแนนเสียงออนไลน์ด้วยโมบายแอปพลิเคชัน สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3) ประเมินประสิทธิภาพระบบ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) ระบบลงคะแนนเสียงออนไลน์ด้วยโมบายแอปพลิเคชัน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ งานวิจัยนำแนวคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ และพัฒนาระบบใช้ทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบร่วมกับสถาปัตยกรรมเอ็มวีซี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศจำนวน 3 คน 2) ที่ปรึกษา/ผู้กำกับดูแล/คณะกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 5 คน และ 3) นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 120 คน ได้มาจากการเลือกแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาประกอบด้วยโมบายแอปพลิเคชันสำหรับลงคะแนนเสียง เว็บแอปพลิเคชันรายงานผลการลงคะแนนเสียง และส่วนควบคุมของผู้ดูแลระบบ สามารถให้บริการการเลือกตั้งสำหรับนิสิตได้ โดยมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งที่คูหาถึง 4,603 คน ช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดค่าใช้จ่าย มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.51) และมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.71)
Download
|
18 |
การพัฒนาระบบจองอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
ไพรัตน์ ปัญญานิรันดร์
Keyword:
ปฏิทินตารางเวลา, จองออนไลน์, การพัฒนาระบบ
หน้า: 172 - 181
( Download: 214 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบจองอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ในรูปแบบ การจองออนไลน์ และประเมินความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของระบบ กรณีศึกษา:คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยใช้เทคโนโลยีเว็บแอพพลิเคชันให้ง่ายต่อการเข้าถึง และสามารถรองรับการแสดงผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารชนิดต่าง ๆ ด้วย Responsive Design สำหรับการพัฒนาระบบ ด้วยการใช้โปรแกรม XAMPP 3.2.4 ซึ่งประกอบไปด้วย MySQL 8.0, PHPMyAdmin 5.0.4 และ Apache 2.4.46 แล้วนำมาแสดงผลด้วย FullCalendar สำหรับแสดงปฏิทินตารางเวลาที่ชัดเจน รวมถึงแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานได้ชัดเจน จากการพัฒนาระบบการจองอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์สามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักศึกษา 2) นักวิทยาศาสตร์ และ 3) ผู้ดูแลระบบ จากการพัฒนาระบบดังกล่าวพบว่า นักศึกษาสามารถเข้าจองอุปกรณ์และสามารถระบุวันเวลาในการจองอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ การอนุมัติใช้งานได้ นอกจากนี้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นคำร้องการขอใช้อุปกรณ์จากนักศึกษา ที่แสดงผลเฉพาะอุปกรณ์ที่ตนเองดูแล ส่งผลทำให้ง่ายต่อการคัดแยกการอนุมัติการจองอุปกรณ์ใช้งาน ของนักศึกษา ส่วนผู้ดูแลระบบสามารถดูรายงานการใช้อุปกรณ์ การอนุมัติจากผู้ดูแลอุปกรณ์ สามารถเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ในระบบได้ ทั้งนี้ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.57 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45 และประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ใช้งาน อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจที่ 4.11 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.69 โดยจากการใช้งาน ณ ปัจจุบัน มีประวัติการดำเนินจองอุปกรณ์ในระบบ จำนวนทั้งสิ้น 19,013 รายการ ในระยะเวลา 2 ปี ที่ได้ทดสอบการใช้งาน สามารถลดจำนวนเอกสารที่ใช้ในการจองอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แต่ละชนิดประมาณ 800 แผ่นต่อปี รวมทั้งยังสามารถลดระยะเวลาทำงาน การสืบค้น เข้าถึงข้อมูล และดำเนินการจองอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ระบบนี้สามารถประยุกต์ใช้กับโปรแกรมการจองอื่น ๆ ได้ในอนาคต
Download
|
19 |
การพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF)
ผู้แต่ง:
กรกฎ ผกาแก้ว, สิรินธร สินจินดาวงศ์
Keyword:
การพัฒนาเว็บไซต์, ระบบสารสนเทศ, มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หน้า: 182 - 190
( Download: 180 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF) 2) เพื่อประเมินคุณภาพของการพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เว็บไซต์ ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้หลักการ ADDIE Model และพัฒนาระบบในรูปแบบของ Web Application ด้วย Google Site เป็นบริการของ Google ที่พัฒนาขึ้นมา และประเมินคุณภาพเว็บไซต์ด้วยแบบประเมินคุณภาพของการพัฒนาเว็บไซต์ โดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ยื่นขอรับการประเมินตามมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 57 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยใช้หลักการของ ADDIE Model ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นการพัฒนา (Development) ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) และขั้นการประเมินผล (Evaluation) จากที่ใช้ 5 ขั้น พบว่าในการพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF) ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ สามารถเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียว ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ง่าย และไม่ซับซ้อน และยังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF) 2) ผลการประเมินคุณภาพเว็บไซต์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 และ 3) ผลการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้ความเห็นว่าเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพฯ มีเมนูง่ายต่อการใช้งาน มีความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บไซต์ การจัดรูปแบบในเว็บไซต์ง่ายต่อการอ่าน และมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34
Download
|
20 |
การวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2562–2565 ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SciVal
ผู้แต่ง:
สุรดา สุวรรณปักษ์, สุนันทา วงศ์ชาลี
Keyword:
การวิเคราะห์, บทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติ, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, Scopus, Scival
หน้า: 191 - 199
( Download: 120 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติของบุคลากรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2565 จำนวน 207 บทความ ด้านสาขาวิชาของบทความ วารสารที่ตีพิมพ์พร้อมทั้งคุณภาพของวารสาร ความร่วมมือทางการวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ และการถูกนำไปใช้อ้างอิงของบทความ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SciVal ผลการศึกษาพบว่า บทความของบุคลากรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เป็นบทความตีพิมพ์ในสาขาวิชา Medicine มากที่สุด จำนวน 114 บทความ โดยตีพิมพ์ใน Journal of Health Research มากที่สุด จำนวน 18 บทความ คุณภาพของวารสารที่ตีพิมพ์บทความเป็นวารสารในระดับควอไทล์ 1 (Q1) ระดับ Top 25% มีจำนวนมากที่สุด 80 บทความ (ร้อยละ 40.41) หากจำกัดผลลัพธ์ลงไปให้เป็นวารสารที่อยู่ในระดับ Top 10% (Tier 1) มีจำนวน 33 บทความ ความร่วมมือทางการวิจัยเป็นบทความที่มีความร่วมมือทางการวิจัยในระดับนานาชาติ จำนวน 90 บทความ (ร้อยละ 43.48) ประเทศที่มีบทความตีพิมพ์ร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มากที่สุด (นอกเหนือจากประเทศไทย) คือ สหรัฐอเมริกา จำนวน 28 บทความ ส่วนหน่วยงานที่มีบทความตีพิมพ์ร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มากที่สุด (นอกเหนือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คือ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 27 บทความ จากจำนวนบทความตีพิมพ์ทั้งหมดมีบทความที่ถูกนำไปใช้อ้างอิง 130 บทความ มีความถี่หรือจำนวนครั้งของการถูกอ้างถึงอยู่ที่ 814 ครั้ง โดยกลุ่มหัวข้อของบทความที่ถูกนำไปใช้อ้างอิงมากที่สุด คือ Pesticides; Organophosphates; Insecticides จำนวน 11 บทความ
Download
|
21 |
การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปาริดา จันทร์สว่าง , ไชยรัตน์ ศรีประสม
Keyword:
สื่อออนไลน์, ปฏิบัติการ, วิศวกรรมอาหาร
หน้า: 200 - 209
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหารนี้ เกิดจากการสำรวจปัญหาความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการสื่อออนไลน์วิธีการใช้งานเครื่องมือเครื่องจักรและวิธีการทดลองปฏิบัติการ พบว่า การจัดทำสื่อออนไลน์มีขั้นตอนคือ 1) เขียนบทรายการวีดิทัศน์ 2) ส่งให้ผู้สอนตรวจสอบ 3) บันทึกเสียง 4) ดำเนินการถ่ายทำ 5) ตัดต่อลงเสียง 6) ส่งอาจารย์ผู้สอนตรวจสอบและส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน
ความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) ซึ่งมากกว่า 0.5 หมายถึงใช้ได้ 7) ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ 8) อัปโหลดสื่อวีดิทัศน์ในช่องยูทูบ (YouTube) 10) คัดลอกลิงก์แขวนในห้องเรียนออนไลน์ Class Start: วิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร โดยได้สื่อออนไลน์จำนวน 8 เรื่อง เป็นสื่อออนไลน์วิธีการใช้งานเครื่องมือเครื่องจักรจำนวน 3 เรื่อง คือ 1) วิธีการใช้งานเครื่องอบแห้งแบบตู้ 2) วิธีการใช้งานเครื่องสกัด และ
3) วิธีการใช้งานเครื่องกรองด้วยเมมเบรนที่ใช้ความดันขับ และได้สื่อออนไลน์วิธีการทดลองจำนวน 5 เรื่อง คือ 1) การอบแห้งอาหาร 2) การสกัด 3) การระเหย 4) การแช่เยือกแข็งอาหาร และ 5) กระบวนการกรองด้วยเมมเบรนที่ใช้ความดันขับ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา พบว่า การใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนการสอนทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงกว่าการเรียนแบบไม่ใช้สื่อออนไลน์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสื่อออนไลน์ที่จัดทำขึ้น พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในหัวข้อความสอดคล้องกับเนื้อหาปฏิบัติการ ความชัดเจนของภาพ ความชัดเจนของเสียงบรรยาย ความเหมาะสมกลมกลืนของเสียงดนตรี ความต่อเนื่องของรายการนำเสนอ ความเหมาะสมของลักษณะ ขนาด ตัวอักษร และการก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อปฏิบัติการโดยมีคะแนนเฉลี่ยทุกหัวข้อมากกว่า 4.00 คือพึงพอใจมาก
Download
|
22 |
การพัฒนาวัสดุ สื่อหุ่นจำลอง โดยใช้ยางซิลิโคนสำหรับฝึกทักษะเบื้องต้น ทางศัลยศาสตร์สำหรับนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
สมพจน์ หวลมานพ
Keyword:
หุ่นจำลองซิลิโคน, สื่อวัสดุ, การฝึกทักษะ (หุ่น) , ศัลยศาสตร์
หน้า: 210 - 220
( Download: 262 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คุณสมบัติวัสดุ สื่อหุ่นจำลอง ด้วยยางซิลิโคนเยอรมัน และยางซิลิโคนไต้หวัน 2) เพื่อพัฒนาหุ่นจำลอง สำหรับการฝึกทักษะเบื้องต้นทางศัลยศาสตร์ ด้วยสื่อวัสดุยางซิลิโคน 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ หุ่นจำลอง สำหรับการฝึกทักษะเบื้องต้นทางศัลยศาสตร์ ด้านประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ ความเหมาะสม ความเสมือนจริง และ คุณสมบัติในการฝึกทักษะทางศัลยศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน, เชิงปฏิบัติการ และเชิงปริมาณแบบกึ่งทดลอง ทดสอบหาคุณสมบัติ แบบสอบถาม การประเมินความพึงพอใจ 5 ระดับ จากอาจารย์แพทย์ 3 คน มาปรับปรุงพัฒนาให้ได้ยางซิลิโคนที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์หุ่นจำลองฝึกทักษะ แผ่นยางซิลิโคนเจาะหนอง, หุ่นยางซิลิโคนฝึกถอดเล็บเท้า เพื่อทดสอบกับประชากร กลุ่มตัวอย่าง นิสิตแพทย์ปีที่ 6 เลือกแบบจำเพาะเจาะจง 43 คน ฝึกทักษะจากหุ่นจำลอง ทดสอบ ประเมินผลสัมฤทธิ์ (ค่าเฉลี่ย, สถิติร้อยละ) การพัฒนาสื่อวัสดุ ยางซิลิโคนไต้หวันมีความเหมาะสม สรุปได้ว่า การประเมินคุณภาพโดยรวม แผ่นยางซิลิโคนเจาะหนอง อยู่ในระดับมากที่สุด 4.56 โดยพิจารณาตามระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด 66.67 รองลงมาระดับมาก 22.22 และระดับปานกลาง 11.11 และหุ่นยางซิลิโคนฝึกถอดเล็บเท้า อยู่ในระดับมาก 3.89 โดยพิจารณาตามระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง 44.45 รองลงมาระดับมากที่สุด 33.33 และระดับมาก 22.22 การประเมินผลสัมฤทธิ์ คะแนนการทดสอบ โดยรวม จากหุ่นฝึกทักษะ หัตถการแผ่นยางซิลิโคนเจาะหนอง อยู่ในระดับมากที่สุด คือ 5.00 พิจารณาตามระดับคะแนนการทดสอบ อยู่ในระดับมากที่สุด 100.00 และหุ่นยางซิลิโคนฝึกถอดเล็บเท้า อยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.96 โดยพิจารณาตามระดับคะแนนการทดสอบ อยู่ในระดับมากที่สุด 99.19
Download
|
23 |
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนออนไลน์กับการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
สุธาสินี หินแก้ว
Keyword:
ความสัมพันธ์, การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, การรับรู้เนื้อหารายวิชา
หน้า: 221 - 232
( Download: 135 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิต 2. การบริหารจัดการที่มีผลต่อการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิต 3. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และการบริหารจัดการกับการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิต โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ประชากร คือ นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จำนวน 131 คน และโดยการสุ่มนิสิตชั้นปีละ 2 คน ที่ศึกษารายวิชาที่ดำเนินการสอนแบบออนไลน์ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ การวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting , Microsoft Team และ Webex Meeting และการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่อการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิตในระดับมาก โดยปัจจัยด้านบุคลากร อาจารย์ผู้สอนที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้โดยใช้สื่อออนไลน์มีผลต่อการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิตมากที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting ,Microsoft Team และ Webex Meeting รวมถึงการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านบุคลากร อาจารย์ผู้สอนมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ และด้าน การบริการ ระบบอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้และการประเมินผล ส่วนการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนและด้านการบริการ อุปกรณ์หรือเครื่องมือทันสมัยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เนื้อหารายวิชาของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านความเข้าใจ การนำไปใช้และการประเมินผล
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |