1 |
ปกหน้า-สารบัญ |
2 |
ปกหน้า-ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การปรับปรุงกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยแนวคิด ECRS
ผู้แต่ง:
ณัฐพงษ์ เพชรดีทน, พัชนี สมพงษ์
Keyword:
การปรับปรุง, กระบวนการบริหาร, ECRS, ความสูญเปล่า
หน้า: 1 - 11
( Download: 143 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป และปรับปรุงกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยแนวคิด ECRS กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการบริหารและพัฒนารายวิชา สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 28 คน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างรายบุคคลเพื่อทวนสอบข้อมูลปัญหาอุปสรรคของกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป วิเคราะห์หาความสูญเปล่า และปรับปรุงกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปด้วยแนวคิด ECRS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ด้วยแนวคิด ECRS สามารถลดความสูญเปล่าในกระบวนการลงจากเดิม 16 ขั้นตอน เหลือ 11 ขั้นตอน รวมทั้งยังสามารถลดระยะเวลาใน การทำงานลงจากเดิม 2,522 นาที เหลือ 1,378 นาที คิดเป็นร้อยละ 45.36 และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษที่ใช้ภายในกระบวนการบริหารการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปลงได้ 3,830.84 บาทต่อภาคการศึกษา ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยแนวคิด ECRS
ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการของสถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง
Download
|
5 |
ความสุขของบุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ธรรญชนก ขนอม
Keyword:
ความสุขของบุคลากร, ความสุขด้านใฝ่รู้ดี, ความสุขด้านจิตวิญญาณดี, ความสุขด้านผ่อนคลายดี
หน้า: 12 - 20
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุข และเสนอแนวทางในการสร้างความสุขให้แก่บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ 9 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 สุขภาพกายดี (Happy Body) มิติที่ 2 ผ่อนคลายดี (Happy Relax) มิติที่ 3 น้ำใจดี (Happy Heart) มิติที่ 4 จิตวิญญาณดี (Happy Soul) มิติที่ 5 ครอบครัวดี (Happy Family) มิติที่ 6 สังคมดี (Happy Society) มิติที่ 7 ใฝ่รู้ดี (Happy Brain) มิติที่ 8 สุขภาพเงินดี (Happy Money) และ มิติที่ 9 การงานดี (Happy work-life) กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสำรวจความผูกพัน ความพึงพอใจ และความสุขของบุคลากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความสุขในด้านใฝ่รู้ดี เป็นอันดับ 1 (X= 3.98, S.D.=0.661) อยู่ในระดับมาก อันดับ 2 คือ ด้านจิตวิญญาณดี (X= 3.84, S.D.=0.477) อยู่ในระดับมาก อันดับ 3 คือ ด้านน้ำใจดี (X= 3.71, S.D.=0.469) อยู่ในระดับมาก อันดับ 4 คือ ด้านสังคมดี (X= 3.62, S.D.=0.428) อยู่ในระดับมาก อันดับ 5 คือ ด้านครอบครัวดี (X= 3.53, S.D.=0.802) อยู่ในระดับมาก เท่า ๆ กับ ความสุข ด้านสุขภาพเงินดี (X= 3.53, S.D.=0.691) อันดับ 6 คือ ด้านสุขภาพกายดี (X=3.42, S.D.=0.665) อยู่ในระดับมาก อันดับ 7 คือ ด้านการงานดี (X= 3.36, S.D.=0.525) อยู่ในระดับปานกลาง อันดับสุดท้าย คือ ด้านผ่อนคลายดี (X= 3.17, S.D.=0.504) อยู่ในระดับปานกลาง แนวทางในการสร้างความสุข คือ นโยบายของผู้บริหารในการกำหนดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
Download
|
6 |
ผลของมอลโทเดกซ์ทรินต่อความคงสภาพของสารสกัดมะตูมที่ทำแห้งแบบพ่นฝอย
ผู้แต่ง:
สมชาย หลวงสนาม
Keyword:
มะตูม, มอลโทเดกซ์ทริน, ความคงสภาพ
หน้า: 21 - 29
( Download: 238 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ผลมะตูม (Aegle marmelos (L.) เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารมีฤทธิ์ทางชีวภาพ สารสกัดหรือน้ำมะตูมจึงเป็นเครื่องดื่มที่น่าจะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การแปรรูปให้เป็นผงแห้งจะทำให้สะดวกต่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษาและขนส่ง แต่ในการทำให้แห้งพบปัญหาจากการที่อนุภาคหลอมติดกับเครื่องมือส่งผลให้สูญเสียผลผลิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมอลโทเดกซ์ทรินที่เหมาะสมในกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอยและความคงสภาพของสารสกัดมะตูมที่เก็บในอุณหภูมิห้องและป้องกันแสงเป็นเวลา 7 เดือน จากการศึกษาพบว่า ผงมะตูมที่ผสมมอลโทเดกซ์ทรินร้อยละ 0, 20, 40 และ 60 มีผลผลิตร้อยละ 2.98, 15.48, 26.31 และ 22.55 มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 5.27, 9.88, 11.49 และ 13.30 ไมโครเมตร ตามลำดับ จะเห็นว่าผลผลิตและขนาดอนุภาคของผงมะตูมเพิ่มขึ้นตามปริมาณมอลโทเดกซ์ทริน สีของผงมะตูมอ่อนลงและมีการกระจายตัวของอนุภาคดีขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณมอลโทเดกซ์ทริน ปริมาณมอลโทเดกซ์ทรินมีผลต่อการเพิ่มความชื้นและช่วยลดการทำลายฟลาโวนอยด์ โดยผงมะตูมที่ผสมมอลโทเดกซ์ทรินร้อยละ 60 มีความชื้นและปริมาณฟลาโวนอยด์สูงกว่าตัวอย่างอื่น ๆ ผลการศึกษาความคงสภาพ พบว่า การผสมมอลโทเดกซ์ทรินร้อยละ 60 จะช่วยควบคุมความชื้นของผงมะตูมให้คงที่และช่วยให้ฟลาโวนอยด์คงสภาพ สรุปว่าสภาวะดังกล่าวช่วยเพิ่มความคงสภาพของผงมะตูมและเหมาะสมต่อกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย แต่อาจต้องปรับสภาวะการพ่นให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต
Download
|
7 |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและผลการเรียนรู้จริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
อรนุช กำเนิดมณี
Keyword:
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง, ผลการเรียนรู้จริง, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
หน้า: 30 - 41
( Download: 133 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและผลการเรียนรู้จริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและผลการเรียนรู้จริงของนิสิตสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (α-Coefficent = 0.946) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และผลการเรียนรู้จริงที่เกิดขึ้นของนิสิตโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณธรรม จริยธรรม (= 4.20, SD = 0.471) รองลงมา คือ ด้านพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (= 4.17, SD = 0.609) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับระดับผลการเรียนรู้จริงทั้ง 6 ด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
8 |
การพัฒนาวิธีทดสอบหาปริมาณสารสเตอรอลจากพืชด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี
ผู้แต่ง:
จรรยา แสงเขียว
Keyword:
สารสเตอรอลจากพืช , ปฏิกิริยาซาปอนนิฟิเคชันโดยตรง , การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี
หน้า: 42 - 50
( Download: 274 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การพัฒนาวิธีทดสอบหาปริมาณสารสเตอรอลจากพืช ได้แก่ Brassicasterol, Campesterol, Stigmasterol และ β-Sitosterol ตัวอย่างถูกเตรียมด้วยการทำปฏิกิริยาซาปอนนิฟิเคชันโดยตรงโดยไม่ทำการสกัดน้ำมัน เพื่อลดเวลาในการทดสอบและลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ จากนั้นเตรียมสารสเตอรอลในรูปของสารอนุพันธ์ก่อนทดสอบด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี ร่วมกับตัวตรวจวัดชนิดเฟลมไอออไนเซชัน ด้วยคอลัมน์แบบชั้นฟิล์มเคลือบบนผิวด้านใน มีช่วงการทดสอบที่ระดับ 0.3-14.2 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม จากการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี พบว่า ค่าขีดจำกัดในการตรวจวัด (LOD) ของ Brassicasterol, Campesterol, Stigmasterol และ β-Sitosterol เท่ากับ 0.5, 0.3, 0.6 และ 0.4 มิลลิกรัมต่อ100กรัม ตามลำดับ มีค่าการคืนกลับในช่วงร้อยละ 82-104 และความเที่ยงในการทดสอบซ้ำอยู่ในช่วง 1.30-1.55 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยอมรับ โดยวิธีทดสอบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถลดเวลาในการทดสอบเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อ 1 ตัวอย่าง ลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ได้ 180 มิลลิลิตรต่อ 1 ตัวอย่าง เมื่อนำวิธีที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ทดสอบหาปริมาณคอเลสเตอรอลในตัวอย่างเนื้อสัตว์และตัวอย่างวัสดุอ้างอิง พบว่า มีคอเลสเตอรอลอยู่ในช่วง 34.96-66.15 มิลลิกรัมต่อ100กรัม โดยมีค่าการคืนกลับเท่ากับร้อยละ 93.39 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีทดสอบที่พัฒนาขึ้นนี้มีความถูกต้อง และรวดเร็วขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายและมีความคุ้มค่า เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการต่อไป
Download
|
9 |
การทดสอบหาชนิดของกรดไขมันในน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ โดยใช้เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี
ผู้แต่ง:
วราภรณ์ รัศมีผะกาย
Keyword:
กรดไขมัน, แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี, น้ำมันพืช, ไขมันสัตว์
หน้า: 51 - 62
( Download: 151 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ พัฒนาวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรีสำหรับทดสอบหาองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ กรดไขมันถูกเตรียมให้อยู่ในรูปของกรดไขมันเมทิล เอสเทอร์โดยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน การระบุชนิดของกรดไขมันเมทิลเอสเทอร์ในตัวอย่างโดยเปรียบแมสสเปกตรัมและค่ามวล/ประจุซึ่งแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของกรดไขมันแต่ชนิดกับฐานข้อมูลมาตรฐาน ISTและWiley ผลการทดสอบพบว่ากรดไขมันอิ่มตัวมีมากที่สุดในน้ำมันมะพร้าวประมาณ 90% ของกรดไขมันทั้งหมด น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันไก่ และน้ำมันหมู มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่ 1 ตำแหน่ง ประมาณ 41 ถึง65% ของกรดไขมันทั้งหมด น้ำมันข้าวโพด น้ำมัน อีฟนิงพริมโรส น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกสตาร์ฟลาวเวอร์ และน้ำมันปลา มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่มากกว่า 1 ตำแหน่ง ประมาณ 50-75% ของกรดไขมันทั้งหมด น้ำมันปลามีกรดไขมันแตกต่างจากตัวอย่างชนิดอื่น ๆ มีกรดไขมันอีโคซะเพนตะอีโนอิกและกรดไขมันโดโคซะเฮกซะอีโนอิก 30 และ 24% ตามลำดับ วิธี GC-MS ที่พัฒนาขึ้นสามารถทดสอบชนิดกรดไขมันในตัวอย่างน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ได้และสามารถระบุคู่ไอโซเมอร์กรดไขมันได้ นอกจากนั้น GC-MS ให้ข้อมูลองค์ประกอบของธาตุและโครงสร้างของกรดไขมันแต่ละชนิดได้ วิธี GC-MS เหมาะสำหรับนำมาใช้ในงานประจำและสามารถประยุกต์ใช้ในการหาองค์ประกอบของกรดไขมันในตัวอย่างอื่น ๆ ได้
Download
|
10 |
การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แต่ง:
วรัญญู ดอนเหนือ, ทองรวี ศิลาน้อย, ปรเมศวร์ จรัสเมธากุล
Keyword:
การรับรู้สื่อ, สื่อประชาสัมพันธ์การสื่อสารในองค์กร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน้า: 63 - 71
( Download: 149 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 84.62) และ สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด (ร้อยละ 84.62) รองลงมา คือ สื่อสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 55.77) และสื่อบุคคล (ร้อยละ 50.00) ตามลำดับ ประเด็นความถี่ในการเปิดรับสื่อแยกตามประเภทสื่อ พบว่า บุคลากรเปิดรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระดับสูงสุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47) รองลงมา คือ สื่อบุคคล (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.21) สื่อสังคมออนไลน์ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.98) และสื่อสิ่งพิมพ์ (ค่าเฉลี่ย 2.96) และในประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพของสื่อ 3 ลำดับแรกได้แก่ ประเด็นทางด้านความทันสมัย ประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือ และประเด็นทางด้านการดึงดูดใจตามลำดับ
Download
|
11 |
ความประทับใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการให้บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียน
ผู้แต่ง:
สุภัสสรา วิภากูล, สุขุม ปิ่นวิถี, ชนาธิิป ทิพยานนท์
Keyword:
ความประทับใจ , การให้บริการ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี
หน้า: 72 - 82
( Download: 168 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความประทับใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการให้บริการการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความประทับใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการให้บริการการศึกษาจำแนกตามเพศ และคณะวิชา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 278 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สถิติทดสอบเอฟ จากการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความประทับใจต่อการให้บริการการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.= 0.81) การให้บริการที่มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ( = 4.17, S.D.= 0.83) รองลงมา คือ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ( = 4.12, S.D.= 0.76) ด้านการบริการและพัฒนานักศึกษา ( = 4.11, S.D.= 0.82) ด้านปัจจัยเกื้อหนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก ( = 4.10, S.D.= 0.86) และด้านบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ( = 4.09, S.D.= 0.86) 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความประทับใจต่อการให้บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัย
คริสเตียนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และนักศึกษาที่สังกัดคณะวิชาต่างกันมีความประทับใจต่อการให้บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05และ 3) ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการปรับปรุงการให้บริการการศึกษา โดยควรมีการจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานที่ตอบสนองกับความต้องการของนักศึกษาและการรักษามาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
Download
|
12 |
ความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ชาโลมา กองสวัสดิ์
Keyword:
แนวทางการพัฒนา, ความผูกพันต่อองค์กร, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 83 - 96
( Download: 106 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และศึกษาแนวทางการพัฒนาความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสังกัดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ทั้งหมด 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสำรวจความผูกพันของบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือการสำรวจ Emo-meter สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการถดถอยพหุคูณ ค่าเบตา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ด้านการรับรู้ของบุคลากรต่อสิ่งที่องค์กรสนับสนุนในการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และมีระดับความผูกพันของบุคลากรอยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์มากที่สุด คือ ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ รองลงมา คือ ความมั่นคงในการทำงาน และสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน 3) แนวทางในการพัฒนาความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คือ องค์กรต้องส่งมอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันให้แก่บุคลากรอย่างเหมาะสม โดยจัดทำแผนสร้างความผูกพันตามความเร่งด่วน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การสื่อสารองค์กร ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจโอกาสในการพัฒนา สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน สัมพันธภาพกับหัวหน้างานระดับถัดไป ภาพลักษณ์องค์กร ความก้าวหน้าในงาน และการได้รับการยอมรับนับถือ ตามลำดับ
Download
|
13 |
สถาบันอุดมศึกษากับการบริหารธุรกิจบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้แต่ง:
ฐิติรัตน์ จันทรดารา, กิตติพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย
Keyword:
การบริหารธุรกิจ, ธุรกิจบริการผู้สูงอายุ, สถาบันอุดมศึกษา
หน้า: 97 - 108
( Download: 148 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ปัจจุบันธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุมีการขยายตัวขึ้นจำนวนมากเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสังคมผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น สถาบันอุดมศึกษาหลายแหล่งจึงมีโครงการธุรกิจบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ การที่จะทำให้ธุรกิจบริการผู้สูงอายุสามารถแข่งขันได้ในตลาดธุรกิจบริการสุขภาพ และประสบผลสำเร็จได้นั้น ต้องมีการบริหารธุรกิจที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มและบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงกลยุทธ์ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 2) การสื่อสารการตลาด 3) การพัฒนาการให้บริการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4) ความพร้อมด้านบุคลากรและ 5) การติดตามและประเมินผลการให้บริการรวมทั้งการให้บริการที่เป็นเลิศ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ 2) การพัฒนากระบวนการให้บริการ และ 3) การพัฒนาสถานที่ให้บริการ
Download
|
14 |
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกองทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
วลัญช์ชัย ปราณธัญธนดิษย์
Keyword:
กองทุน, รับบริจาค, เบิกจ่าย, การพัฒนาระบบ, ระบบสารสนเทศ
หน้า: 109 - 122
( Download: 112 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกองทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ออกแบบระบบและพัฒนาโปรแกรมจัดเก็บข้อมูลกองทุน ข้อมูล การรับบริจาค ข้อมูลรายรับ ข้อมูลรายจ่าย ทำการประมวลผล และจัดทำรายงานสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาค สามารถบริจาคผ่านบริการ QR Payment บน Mobile Banking ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า พร้อมทั้งมีระบบแจ้งเตือนยอดการบริจาคผ่าน Line Notify ให้เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีได้รับทราบ เมื่อมีการบริจาคผ่าน QR Payment อีกทั้งผู้บริหารคณะฯ หัวหน้าภาควิชา และเจ้าของกองทุนจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจ ในการบริหารจัดการกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ระบบพัฒนาขึ้นในรูปแบบ Web Application โดยใช้โปรแกรมภาษา PHP, HTML5, CSS3, jQuery, Ajax, Bootstrap ใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL และเรียกใช้ระบบผ่าน Web Browser โดยผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบจากผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ผู้วิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของผู้บริจาค มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ย 4.58 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของคณะกรรมการบริหารกองทุน มีค่าเฉลี่ย 4.63 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการทำงานของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
Download
|
15 |
ความสนใจของนิสิตนักศึกษาในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ผู้แต่ง:
รัฐธีร์ ไชยสิริวิชญ์, สุมิตร สุวรรณ
Keyword:
ความสนใจ, การตัดสินใจ, ระดับปริญญาโท
หน้า: 123 - 136
( Download: 115 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสนใจของนิสิตนักศึกษาในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และ 2) เสนอแนวทางการเพิ่มจำนวนนิสิตใน การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ 1) เชิงปริมาณ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 114 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จำนวน 96 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 175 คน รวม385 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ 2) เชิงคุณภาพนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จาก 3 มหาวิทยาลัย รวม 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจศึกษาต่อในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยสนใจเข้าศึกษาต่อนอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์) และมีเหตุผลความสนใจมากที่สุด คือ มีสาขาวิชาเรียนให้เลือกหลากหลาย น่าสนใจ และต้องการศึกษาต่อในสาขาที่เรียนอยู่เพื่อต่อยอดความรู้ โดยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ หลักสูตร อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และเทคโนโลยีและอุปกรณ์การเรียนการสอน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แนวทางการเพิ่มจำนวนนิสิตเข้าศึกษาต่อที่สำคัญ ได้แก่ การจัดหลักสูตรให้มีเนื้อหาวิชาที่ทันสมัย น่าสนใจ ครอบคลุม บูรณาการสาขาอย่างหลากหลาย การสร้างหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรเรียนออนไลน์ที่สามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยได้ และควรจัดให้มีทุนการศึกษา
Download
|
16 |
การประยุกต์ใช้การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
Keyword:
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ
หน้า: 137 - 148
( Download: 157 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ ที่เป็นรูปแบบการทดสอบที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้สอบ ซึ่งเป็นวิธีการทีผสมผสานระหว่างทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ และการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถของผู้สอบมากกว่า 1 มิติ ผ่านการทดสอบเพียงครั้งเดียว มีประสิทธิภาพสูง มีความแม่นยำ และลดจำนวนข้อสอบ ซึ่งการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างคลังข้อสอบ 2) การเริ่มต้นการทดสอบ 3) การคัดเลือกข้อสอบ 4) การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ และ 5) เกณฑ์ยุติการทดสอบ
Download
|
17 |
แนวทางการสื่อสารการตลาดสำหรับการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง
ผู้แต่ง:
อิทธิพร ขำประเสริฐ, เสาวลักษณ์ นัทธีศรี
Keyword:
การสื่อสารการตลาด, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หน้า: 149 - 160
( Download: 116 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความสามารถของอาจารย์ในการสื่อสารการตลาดของหลักสูตร 2) เพื่อศึกษาความต้องการปัจจัยสนับสนุนการสื่อสารการตลาด และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของแนวทางการสื่อสารการตลาด สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ประชากร คือ อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบงานด้านการสื่อสารการตลาดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 26 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ จากการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างสามารถพูดนำเสนอหลักสูตรได้ แต่ไม่มั่นใจว่าจะโน้มน้าวนักเรียนให้สนใจหลักสูตรได้หรือไม่ คิดเป็นร้อยละ 50 2) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการปัจจัยสนับสนุนด้านการสื่อสารการตลาดอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, = 0.86) โดยเฉพาะเรื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อออนไลน์เพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาดของคณะ/หลักสูตร การสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดของสถาบัน และการจัดเตรียมข้อมูลที่สนับสนุนการสื่อสารการตลาด 3) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมาก ( = 4.15, = 0.68) เกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารการตลาด โดยเรื่องที่มีระดับความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ กลยุทธ์การเจาะกลุ่มโรงเรียนเป้าหมายสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และการสร้างบุคคลประทับใจจากศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จเพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาด รวมทั้งการสร้างทีมงานการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้จึงนำไปกำหนดทิศทางและแผนปฏิบัติงานด้านการสื่อสารการตลาดของสถาบันที่สามารถระบุโครงการหรือกิจกรรมที่จะดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
Download
|
18 |
การพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยสมองกลฝังตัว
ผู้แต่ง:
ถนอม กองใจ, วิจักษณ์ ศรีสัจจะเลิศวาจา
Keyword:
ระบบตรวจสอบ, วัดไฟฟ้า, สมองกลฝังตัว, การใช้ไฟฟ้า
หน้า: 161 - 169
( Download: 127 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้กระแสไฟฟ้าที่สามารถเฝ้าติดตามและบันทึกสถานะการใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้เซนเซอร์หม้อแปลงขดลวดวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟฟ้า เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อาดูโน่นาโน เพื่อรับและแปลงค่าสัญญาณแอนะล็อกที่ได้จากเซนเซอร์ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ส่งต่อไปยังอุปกรณ์ราสเบอร์รี่พายผ่านพอร์ตยูเอสบี เพื่อแปลงค่าสัญญาณเป็นค่าตัวเลขปริมาณการใช้พลังงานด้วยโปรแกรมภาษาไพธอน แล้วจึงส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลไมโครซอฟต์ พาวเวอร์ บีไอ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายวายฟาย เพื่อจัดเก็บในฐานข้อมูลและนำไปแสดงผลการวิจัยนี้ได้ทำการติดตั้งและทดสอบใช้งานกับระบบไฟฟ้าหลักของอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 220 โวลต์ 100 แอมป์ ผลการทดสอบพบว่า ระบบสามารถเฝ้าติดตามและบันทึกสถานะการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถเปิดหน้าจอแสดงผลข้อมูลได้จากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สมาร์ตโฟน ทำให้รับรู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้ อีกทั้งระบบยังสามารถสร้างรายงานสรุปข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปประกอบ การวิเคราะห์และวางแผนหาแนวทางลดการใช้พลังงาน วางแผนปรับปรุงระบบไฟฟ้า หรือใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานไฟฟ้าภายในองค์กรได้
Download
|
19 |
ปัญหาในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ
Keyword:
ประกันคุณภาพการศึกษา, เกณฑ์ CUPT QA, รายงานการประเมินตนเอง
หน้า: 170 - 177
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของคณะศิลปศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่า 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.80 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าประเด็นที่เป็นปัญหาในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ 2) ด้านความรับผิดชอบ 3) ด้านความถูกต้อง 4) ด้านระยะเวลา ในขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์พบว่าปัญหาในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สำคัญที่สุดประกอบด้วย 3 ด้านหลัก คือ 1) ด้านนโยบาย ควรมีการกำหนดนโยบายและแผนงานของคณะให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย 2) ด้านกลยุทธ์ ควรมีการวางกลยุทธ์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา 3) ด้านปฏิบัติงาน ขาดการทบทวนบทเรียนในอดีต ควรมีการเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อผิดพลาดแบบเดิมเกิดขึ้นน้อยที่สุด ขาดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลมาซึ่งการเขียนรายงานการประเมินตนเองโดยผู้บริหารเป็นกำลังสำคัญ และมีบทบาทที่สำคัญในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาเกณฑ์ CUPT QA ผู้บริหารควรมีวิธีการสร้างความภาคภูมิใจในงานที่ทำ และส่งเสริมให้บุคลากรในคณะเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาและมุ่งสู่เป้าหมายการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน
Download
|
20 |
การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line notify API ในสถานการณ์ COVID-19
ผู้แต่ง:
สาวิตรี วงษ์นุ่น
Keyword:
การแจ้งเตือน , การส่งข้อความอัตโนมัติ, ระบบสารสนเทศ
หน้า: 178 - 187
( Download: 894 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line Notify API ร่วมกับระบบสารสนเทศมีหลักการทำงาน 3 ส่วน ได้แก่ การรับค่าข้อมูล การประมวลผลเพื่อการส่งค่าข้อมูลและการแสดงผลสารสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยออกแบบหลักการทำงานเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP และฟอร์มรับค่าสำเร็จรูป เพื่อส่งสารสนเทศอัตโนมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ เพื่อประยุกต์รูปแบบการสื่อสาร ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line Notify API ใช้งานร่วมกับระบบสารสนเทศองค์กรเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลในสถานการณ์ COVID -19 ผลการประเมินการใช้งานระบบแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ยที่ 4.41 (SD = 0.40) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีมาก ด้านการออกแบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าคะแนนอยู่ที่ 4.63 (SD = 0.41) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีที่สุด และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการใช้งานระบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าคะแนนเฉลี่ย 4.50 (SD = 0.44) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานภาพรวมอยู่ 4.51 สรุปได้ว่าอยู่ในระดับดีที่สุด
Download
|
21 |
ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
ภัณฑิรา วิเชียร, จินตนา นกอยู่, อฏฐม สาริบุตร
Keyword:
ความพึงพอใจ, ผู้รับบริการ, การบริการ
หน้า: 188 - 195
( Download: 104 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์และนักศึกษาในภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ รวมถึงบุคคลภายนอกที่มาติดต่อราชการ จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, SD = 0.56) ค่าเฉลี่ยด้านความสามารถ การตอบสนองการให้บริการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, SD = 0.60) ค่าเฉลี่ยด้านความแน่นอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, SD = 0.58) ค่าเฉลี่ยความเข้าใจต่อผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.43, SD = 0.57) ค่าเฉลี่ยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก ( = 4.28, SD = 0.62) จากผลการวิจัย สามารถสรุปได้ว่า ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ อยู่ในระดับมาก
Download
|
22 |
คุณภาพชีวิต ความสุข และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ผู้แต่ง:
อุเทน หินอ่อน
Keyword:
คุณภาพชีวิต, ความสุข, ความผูกพันต่อองค์กร
หน้า: 196 - 205
( Download: 118 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ 3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.75 - 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาบรรยายลักษณะตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงาน 9 มิติ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความผูกพันต่อองค์กร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มิติด้านจิตวิญญาณดี (Happy Soul) มิติด้านสุขภาพกายดี (Happy Body) และมิติด้านครอบครัวดี (Happy Family) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรและเป็นไปในทิศทางเชิงบวกตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
23 |
สถานภาพงานสารบรรณและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
อุดมศักดิ์ ปัญญาอินทร์
Keyword:
สภาพงานสารบรรณ, สมรรถนะ, ผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณ
หน้า: 206 - 217
( Download: 235 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงผสมผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพงานสารบรรณ สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนางานสารบรรณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 52 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับงานสารบรรณ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่อยู่ในระดับมาก สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ มีข้อเสนอเชิงนโยบายโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมการพัฒนาแนวคิดใหม่ และการนำเทคโนโลยีมาร่วมในการพัฒนางานสารบรรณและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ |
25 |
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ |
26 |
ปกหลัง |