1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาที่เลือกเรียน ในมหาวิทยาลัยเอกชนจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง:
ภราดี พิริยะพงษ์รัตน์, อุริส แจ้งเจริญ, สุภัสสรา วิภากูล
Keyword:
การสื่อสารการตลาด, การตัดสินใจ, สถาบันอุดมศึกษา
หน้า: 1 - 10
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างการ วิจัย คือ นักศึกษา จำนวน 221 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการเข้าศึกษาเป็นปัจจัยที่มีผลในระดับมากรองลงมา คือ ปัจจัยด้านหลักสูตรและชื่อเสียง ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ตามลำดับซึ่งประเภทสื่อที่มีผล คือ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและ การรับสมัคร 3 ลำดับแรก คือ สื่อเว็บไซต์ สื่อแผ่นพับ และอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนดังนั้น มหาวิทยาลัยควรมีการพัฒนาหลักสูตร/สาขาวิชา/คณะวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนควรพิจารณาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และได้รับเลือกจากนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยการจัดระบบการสอบคัดเลือกที่ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้สมัครเรียนการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสรรหาการตกลงความร่วมมือกับสถานประกอบการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเข้าทำงานเพื่อให้นักศึกษาที่เลือกมหาวิทยาลัยมีงานทำ 100% ภายหลังสำเร็จการศึกษา
Download
|
5 |
การพัฒนาเครื่องมือเฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานะการใช้งานเว็บไซต์ ที่จัดทำด้วยโปรแกรมจูมลาโดยแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลและไลน์ ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี
Keyword:
เฝ้าระวังเว็บไซต์, วิเคราะห์เว็บไซต์, จูมลา, ความปลอดภัยของเว็บไซต์, การบริหารจัดการเว็บไซต์
หน้า: 11 - 22
( Download: 106 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือเฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานะการใช้งานเว็บไซต์ที่จัดทำด้วยโปรแกรมจูมลา และระบบแจ้งเตือนการปรับปรุงเวอร์ชันของจูมลาให้แก่ผู้รับบริการโดยส่งข้อความแจ้งเตือนทางอีเมลและไลน์ในลักษณะเรียลไทม์ เพื่อแก้ไขปัญหาการละเลยในการปรับปรุงเวอร์ชันจูมลาให้เป็นปัจจุบันของผู้รับบริการป้องกันการเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์รวมทั้งการบริหารจัดการเว็บไซต์ในภาพรวมภายในเครื่องแม่ข่ายของสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง การพัฒนาเครื่องมือประกอบด้วยการพัฒนาระบบวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ที่ใช้งานด้วยโปรแกรมจูมลา พัฒนาระบบการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลและไลน์ไปยังผู้รับบริการและแดชบอร์ดสารสนเทศของระบบเว็บโฮสติ้ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือนี้สามารถสืบค้นและเปรียบเทียบเวอร์ชันของเว็บไซต์ที่จัดทำด้วยโปรแกรมจูมลาได้ครบถ้วนทุกเว็บไซต์และแสดงสถานะได้ถูกต้องซึ่งประสิทธิภาพของเครื่องมือมีค่า Precision และ Recall เท่ากับ 1 โดยเครื่องมือสามารถแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลและไลน์ไปยังผู้รับบริการของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้งหมดช่วยให้ผู้รับบริการสามารถตรวจจับและแสดงสถานะเวอร์ชันของเว็บไซต์และช่วยแก้ไขปัญหาการละเลยในการปรับปรุงเวอร์ชันของจูมลาให้เป็นปัจจุบันของผู้รับบริการโดยกลุ่มตัวอย่างของผู้รับบริการมีความพึงพอใจในด้านความสะดวกในการรับบริการมากที่สุดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62)
Download
|
6 |
การวิเคราะห์การมีและการใช้หนังสือของห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
รวิวรรณ นาพิมพ์
Keyword:
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ, หนังสือเฉพาะสาขาวิชา, ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หน้า: 23 - 32
( Download: 117 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนเนื้อหาและปริมาณการใช้ของหนังสือเฉพาะสาขาวิชาที่เป็นฉบับพิมพ์ของห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพในมหาวิทยาลัยนเรศวร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสำรวจจำนวนหนังสือในหมวดหมู่ต่าง ๆ และวิเคราะห์สัดส่วนเนื้อหาของหนังสือที่มีให้บริการในห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2563 ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM โดยใช้เลขหมู่ ที่จัดแบ่งเนื้อหาตามสาขาในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน แยกหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า หนังสือเฉพาะสาขาวิชาที่เป็นฉบับพิมพ์ของห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจำนวน 15,729 เล่ม มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 19 สาขาวิชา เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 พบว่า เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฯ ด้านปริมาณการใช้หนังสือ จากการศึกษาข้อมูลการยืม ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM พบว่า หนังสือที่มีอัตราการยืมมากที่สุด คือ หนังสือในหมวด QS-QZ (วิทยาศาสตร์คลินิกพื้นฐาน) มีการยืมทั้งสิ้น 103,032 ครั้ง
การยืมเฉลี่ย 26.33 ครั้งต่อเล่ม รองลงมา คือ หนังสือในหมวด Q-QR (วิทยาศาสตร์) มีการยืมทั้งสิ้น 4,645 ครั้ง การยืมเฉลี่ย 20.46 ครั้งต่อเล่ม และหนังสือในหมวด W-WZ (การแพทย์และวิชาที่เกี่ยวข้อง) มีการยืมทั้งสิ้น 171,210 ครั้ง การยืมเฉลี่ย 15.52 ครั้งต่อเล่ม
Download
|
7 |
ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจสมัครเรียน การรับรู้สื่อ และส่วนประสมทางการตลาดเพื่อการรับนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง:
สุภัสสรา วิภากูล, นภาพร สายชู, อิทธิพร ขำประเสริฐ, นันทิดา แคน้อย, ชนาธิป ทิพยานนท์
Keyword:
การตัดสินใจสมัครเรียน, การรับรู้สื่อ, ส่วนประสมทางการตลาด , มหาวิทยาลัยเอกชน
หน้า: 33 - 43
( Download: 175 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษาใหม่ 2) การรับรู้สื่อเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาใหม่ และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อการรับนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 281 คน 2) ผู้บริหาร และอาจารย์ที่สอนระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 88 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย พบว่า มีค่าความตรงกับสิ่งที่ต้องการวัดเท่ากับ 0.92 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.852 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่นักศึกษาใหม่เลือกมาสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งมากที่สุด ได้แก่ โอกาสได้งานทำภายหลังสำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 75.8 รองลงมา คือ ระบบการรับสมัครเรียนที่สะดวกและรวดเร็ว คิดเป็นร้อยละ 38.8 และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยฯ คิดเป็นร้อยละ 35.2 ตามลำดับ 2) นักศึกษาใหม่รับรู้สื่อออนไลน์เพื่อใช้ประกอบการตัดสินในสมัครเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.5รองลงมา คือ สื่อบุคคล ร้อยละ 71.8 และสื่อกิจกรรม ร้อยละ 28.5 3) ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการรับนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.623) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ( =4.50, S.D.=0.632) และด้านราคา ( =4.49, S.D.=0.684)
Download
|
8 |
การพัฒนารายวิชา MOOC เรื่อง การผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง:
จิราพร ธารแผ้ว, ธนายุทธ อังกิตานนท์, มนัสวี ศรีนนท์
Keyword:
บทเรียนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน, บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, บทเรียนออนไลน์
หน้า: 44 - 56
( Download: 167 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารายวิชา MOOC เรื่อง การผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 2) หาคุณภาพด้านเนื้อหาและการผลิตสื่อ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชา MOOC ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รายวิชา MOOC เรื่องการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพเนื้อหาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 4) แบบวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของแบบทดสอบ 5) แบบประเมินการใช้งานรายวิชา MOOC เรื่องการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานบทเรียนสำหรับผู้เรียน เก็บข้อมูลคุณภาพด้านเนื้อหาและการผลิตสื่อ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านการผลิตสื่อ ด้านละ 3 คน สำหรับความพึงพอใจของผู้เรียน เก็บข้อมูลจากผู้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาออนไลน์ที่ตอบแบบประเมินความพึงพอใจหลังการเรียน จำนวน 122 คน สถิติที่ใช้ในการประเมินคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบกับวัตถุประสงค์ (The Index of Item Objective Congruence หรือ IOC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า รายวิชา MOOC เรื่อง การผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพด้านเนื้อหาโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.85 ด้านสื่อ พบว่า องค์ประกอบทุกด้านอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.39 สำหรับความพึงพอใจของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.56
Download
|
9 |
ความต้องการในการพัฒนาห้องประชุมคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
สุภาพร คำรศ
Keyword:
ความต้องการ, การพัฒนา, ห้องประชุม
หน้า: 57 - 65
( Download: 104 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาห้องประชุม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 76 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาห้องประชุมคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท มีค่าความตรงของเนื้อหา คือ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านสภาพแวดล้อมของห้องประชุม บุคลากรต้องการให้มีแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ห้องประชุมมากที่สุด (Χ̅= 4.53, S.D. = 0.74) (2) ด้านโสตทัศนูปกรณ์ บุคลากรต้องการให้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มากที่สุด (Χ̅= 4.46, S.D. = 0.74) (3) ด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับห้องประชุม บุคลากรต้องการให้มีการจองใช้ ห้องประชุมแบบออนไลน์มากที่สุด (Χ̅ = 4.58, S.D. = 0.58) (4) ด้านรูปแบบการจัดการประชุม บุคลากรต้องการห้องประชุมแบบ Conference มากที่สุด (Χ̅= 4.32, S.D. =0.97)
Download
|
10 |
แรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคามในการพัฒนางานวิจัย
ผู้แต่ง:
ปริญญ์ งามสุทธิ
Keyword:
แรงจูงใจ, งานวิจัย, บุคลากรสายสนับสนุน, สำนักศึกษาทั่วไป
หน้า: 66 - 73
( Download: 118 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนางานวิจัย และแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคามในการพัฒนางานวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการพัฒนางานวิจัย และแบบสำรวจแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคามในการพัฒนางานวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการพัฒนางานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Χ̅ =3.35, S.D.=0.89) และมีแรงจูงใจในการทำวิจัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Χ̅ =3.56, S.D.=0.86) 2) แรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการทำวิจัยนั้น ต้องใช้การกระตุ้นให้ปฏิบัติงาน โดยมีสิ่งตอบแทนเมื่อปฏิบัติได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เป็นการมุ่งเน้นให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน
Download
|
11 |
ความพึงพอใจของนักศึกษาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปาริดา จันทร์สว่าง
Keyword:
ความพึงพอใจ, การเรียนการสอนปฏิบัติการ, สื่อวีดิทัศน์
หน้า: 74 - 82
( Download: 152 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร ซึ่งเป็นวิชาปฏิบัติการใหม่คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านความพร้อมของเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านผู้สอนควบคุมปฏิบัติการ และด้านพื้นที่ทำปฏิบัติการ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์ โดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจและแบบสอบถามแนวทางการพัฒนากับนักศึกษาทั้งหมดจำนวน 52 คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและร้อยละความพึงพอใจต่อปฏิบัติการเรื่อง การอบแห้งอาหาร การระเหย การสกัด การแช่เยือกแข็งอาหาร และกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนที่ใช้ความดันขับ พบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากในด้านความพร้อมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ (3.82+0.64) ความพร้อมวัสดุอุปกรณ์ (3.82+0.64) ความทันสมัยของเครื่องมือ (3.67+0.74) การสอนวิเคราะห์ข้อมูล (4.24+0.62) และการเอาใจใส่ต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา (4.24+0.62) ในขณะที่นักศึกษามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจปานกลางในด้านพื้นที่ปฏิบัติการ (3.42+0.76) และด้านสภาพแวดล้อมบริเวณทำปฏิบัติการ (2.73+0.96) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการสอนปฏิบัติการด้วยสื่อ วีดิทัศน์ พบว่านักศึกษาเห็นด้วยต่อการทำสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ก่อนเรียนปฏิบัติการจริง(98.08%) และคาดว่าส่งผลต่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น (73.08%) ความยาวสื่อวีดิทัศน์ควรอยู่ในช่วง 1-5 นาที (50.00%) และควรมีการทดสอบความรู้ก่อนทำปฏิบัติการจริง (42.31%) โดยหัวข้อที่ต้องการให้ทำสื่อวีดิทัศน์มากที่สุด ได้แก่ วิธีการใช้งานเครื่องมือ (90.40%) และวิธีการทดลอง (88.50%) จากผลการวิเคราะห์ควรมีการปรับปรุงการให้บริการด้านพื้นที่และสภาพแวดล้อมในการทำปฏิบัติการ และควรพัฒนาสื่อการสอนปฏิบัติการในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ต่อไป
Download
|
12 |
การวิเคราะห์งบประมาณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วรรณวิมล วงศ์ถาวร
Keyword:
วิเคราะห์งบประมาณ, บริหารงบประมาณ, งบประมาณเงินรายได้
หน้า: 83 - 91
( Download: 196 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์งบประมาณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีงบประมาณ 2559–2563 โดยรวบรวมข้อมูลจากแผนงบประมาณเงินรายได้ รายงานงบการเงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาบันทึกในแบบตารางฐานข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ การหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ และเปรียบเทียบงบประมาณคณะศิลปศาสตร์ ปีงบประมาณ 2559–2563 ซึ่งจำแนกตามงบรายจ่าย และจำแนกตามภารกิจ ด้วยเทคนิคการเปรียบเทียบข้อมูล และวิเคราะห์แนวโน้มรายรับ–รายจ่ายจริงของงบประมาณเงินรายได้ ปีงบประมาณ 2564–2566 ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ ด้วยชุดคำสั่ง Forecast เพื่อคาดการณ์ความสามารถทางการเงินในอนาคตแล้วนำเสนอผลเป็นตารางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนงบประมาณ คณะศิลปศาสตร์เฉลี่ย 5 ปีจากงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ มีสัดส่วนเท่ากับ 27.92 : 72.08 ซึ่งพบว่าอัตราส่วนร้อยละของงบประมาณแผ่นดินลดลงทุกปีหรืออีกนัยหนึ่งอัตราส่วนร้อยละของงบประมาณเงินรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีงบประมาณ 2563 มีสัดส่วนเท่ากับ 8.48 : 91.52 เมื่อคาดการณ์รายรับ–รายจ่ายจริง พบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2564-2566 มีแนวโน้มรายรับจริงลดลง ในขณะที่รายจ่ายจริงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยค่าเฉลี่ยสูงสุดในการจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ตามงบรายจ่าย คือ งบอุดหนุน และจัดสรรตามภารกิจสูงสุด คือด้านการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ค่าคาดการณ์แนวโน้มรายรับ ปีงบประมาณ 2564–2566 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลการวิจัยผู้บริหารควรกำหนดกรอบวงเงินเพื่อการจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ ในสัดส่วนที่สอดคล้องกับแนวโน้มรายรับจริง ผลักดันให้ใช้จ่ายงบประมาณจากแหล่งอื่น ๆ และแสวงหารายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงลดรายจ่ายงบดำเนินงานเพื่อรองรับการขยายตัวของงบบุคลากร และงบลงทุน ตลอดจนคำนึงถึง การขับเคลื่อนกลยุทธ์และแผนงานสำคัญของคณะศิลปศาสตร์
Download
|
13 |
ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อสมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
อรุณพร สุดาวีระ
Keyword:
สมรรถนะ, มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
หน้า: 92 - 102
( Download: 123 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อสมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2. ศึกษาระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตนเองของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อสมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตนเองของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 170 รายโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Correlation Coefficient พบว่า สมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความสามารถทางเทคนิคอยู่ในระดับปานกลาง ด้านทักษะทางวิชาชีพอยู่ในระดับมาก และด้านค่านิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีความสัมพันธ์กันทางบวกในทิศทางเดียวกัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.392 - 0.641 ด้านความรู้ความสามารถทางเทคนิค เท่ากับ 0.424 ทักษะการจัดการตนเอง เท่ากับ 0.600 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร เท่ากับ 0.457 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง และด้านทักษะทางปัญญา เท่ากับ 0.392 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อาจจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จึงควรพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวให้สูงขึ้น
Download
|
14 |
ความพร้อมในการให้บริการวิชาการของภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต่อการพัฒนาธุรกิจการแปรรูปอาหาร เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ผู้แต่ง:
ลลิต ขำวงษ์รัตนโยธิน, เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง
Keyword:
การให้บริการวิชาการ, บริการวิเคราะห์, บริการเครื่องมือ, บริการคำปรึกษาทางวิชาการ
หน้า: 103 - 114
( Download: 95 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อทราบถึงข้อมูลแนวทางการให้บริการวิชาการด้านต่าง ๆ ของภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในส่วนของผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ขอรับบริการวิชาการด้านต่าง ๆ ของภาควิชาฯ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางหรือเสริมสร้างความพร้อมในการให้บริการวิชาการของภาควิชาฯ ที่ตรงตามความต้องการของผู้ขอรับบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) แนวทางการให้บริการวิเคราะห์และบริการเครื่องมือ คือ การจัดสรรงบประมาณจัดซื้อเครื่องมือรองรับการให้บริการที่หลากหลาย และมีบุคลากร/หน่วยงานที่ให้บริการโดยเฉพาะ และการให้บริการคำปรึกษาทางวิชาการโดยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและการประสานงานได้อย่างต่อเนื่อง 2) ผลการให้บริการวิชาการ ในปี พ.ศ. 2559 -2563 พบว่า ประเภทหน่วยงานที่มีการขอรับบริการมากที่สุด คือ ผู้ประกอบการ/SME/บุคคลทั่วไป (ร้อยละ 35.71) รองลงมาได้แก่ โรงงาน/หน่วยงานเอกชน (ร้อยละ 32.14) และหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/มหาวิทยาลัย (ร้อยละ 32.14) โดยประเภทรายการที่ขอรับบริการมากที่สุด คือ บริการวิเคราะห์ (ร้อยละ 46.15) รองลงมา ได้แก่ บริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ (ร้อยละ 24.85) บริการเครื่องมือ (ร้อยละ 21.30) และอื่น ๆ (ร้อยละ 7.69) ตามลำดับ 3) การพัฒนาแนวทางหรือเสริมสร้างความพร้อมในการให้บริการวิชาการ ได้แก่ การจัดซื้อเครื่องมือใหม่ทดแทนหรือครอบคลุมรายการวิเคราะห์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ขอรับบริการ การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ มีการจัดตั้งหน่วยงานให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ผู้ให้บริการเสริมสร้างความรู้ด้านอื่น และการประชาสัมพันธ์ การให้บริการที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
Download
|
15 |
ความรู้เกี่ยวกับการนำส่งเงินโครงการวิจัยและบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก ของบุคลากรที่มีหน้าที่ในการนำส่งเงินวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
ณวพร ฟองแก้ว
Keyword:
ความรู้, การนำส่งเงิน, มหาวิทยาลัยพะเยา
หน้า: 115 - 124
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการนำส่งเงินโครงการวิจัยและบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอกของบุคลากรที่มีหน้าที่ในการนำส่งเงินวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อนำผลวิจัยที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนางานและพัฒนาเว็บไซต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว และความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการนำส่งเงินฯ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยในภาพรวม พบว่า ระดับความรู้ของบุคลากรที่มีหน้าที่นำส่งเงินวิจัยและบริการวิชาการ ด้านความรู้เกี่ยวกับการนำส่งเงินโครงการวิจัยและบริการวิชาการ อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 74.68) และด้านความรู้เกี่ยวกับระเบียบมหาวิทยาลัยพะเยา ว่าด้วยการเงิน การงบประมาณและการพัสดุของทุนจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2563 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.50) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการหักค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ร้อยละ 10 และตามที่แหล่งทุนกำหนด อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.73) ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ มหาวิทยาลัยควรจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติในการนำส่งเงินโครงการวิจัยและบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก เป็นสื่อถาวรทั้งเป็นเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กับทั้งจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป
Download
|
16 |
การประเมินระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผู้แต่ง:
สุภาวดี ประเสริฐสุข
Keyword:
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, ประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจ
หน้า: 125 - 132
( Download: 149 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงการใช้งาน ประเมินประสิทธิภาพ และศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ดูแลระบบที่มีต่อการประเมินประสิทธิภาพการใช้บริการระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถ 2) ด้านความถูกต้อง 3) ด้านความยากง่าย 4) ด้านประสิทธิภาพ 5) ด้านความปลอดภัย ปรากฏว่ามีระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.65 2) ผลการประเมินผู้ใช้งานระบบ มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.17 ทำให้ทราบว่าภาพรวมของการนำระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้นั้น พบปัญหาจำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการเอกสาร 2) ด้านการเข้าใช้งาน และ 3) ด้านการดำเนินงาน ซึ่งทั้ง 3 ด้าน พบว่าปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คือ ผู้ใช้งานระบบทั้งสิ้น
Download
|
17 |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติภายใต้ การบริหารจัดการของสถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แต่ง:
พัชนี สมพงษ์, ภัสราภรณ์ พรหมเทพ, ณัฐพงษ์ เพชรดีทน
Keyword:
ผลลัพธ์การเรียนรู้, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา, สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป
หน้า: 133 - 142
( Download: 99 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตามความคิดเห็นของผู้เรียน ประชากร คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของสถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31,447 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตามความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนเรียนอยู่ในระดับมาก (μ=3.73, σ = 0.32) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (μ ≥ 3.51) และมีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้หลังเรียนอยู่ในระดับมาก (μ = 4.12, σ = 0.19) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (μ ≥ 3.51) เมื่อพิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนเรียนรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (μ ≥ 3.51) ยกเว้นด้านความรู้ (μ = 3.41, σ = 0.35) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (μ ≥ 3.51) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนเรียนสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (μ = 4.02, σ = 0.24) และหลังเรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.19) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนเรียนต่ำสุด คือ ด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.41, σ = 0.35) โดยหลังเรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมาก (μ = 3.95, σ = 0.17) สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไปมีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ เพิ่มขึ้นทุกด้าน
Download
|
18 |
การศึกษาปัญหา ความคาดหวัง ความต้องการและความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของบุคลากรและนักศึกษา: กรณีศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้แต่ง:
ธีรวุฒิ นาคขำ, ภิรมย์ พาบุ
Keyword:
ปัญหา, ความคาดหวัง, ความต้องการ, ความพึงพอใจ
หน้า: 143 - 153
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาความคาดหวัง ความต้องการและความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของบุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตรประยุกต์โดยใชวิธีวิจัยเชิงปริมาณกลุ่ม ตัวอย่างที่ใชในการวิจัย คือ บุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จํานวน 350 คน เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบเพื่อหา ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตามสมมติฐานโดยใช้ t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.90 เป็นนักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 81.10 สังกัดภาควิชาสถิติประยุกต์ คิดเป็น ร้อยละ 18.30 ตามลำดับปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( =1.79, S.D.=0.86) ส่วนรายด้านที่มีปัญหามาก ได้แก่ การเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก ( =4.01, S.D.=0.53) รองลงมา คือ ความเร็วของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก ( =3.93, S.D.=0.58) ด้านความคาดหวังความต้องการต่อการใช้เทคโนโลยีการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40, S.D.=0.77) และด้านความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=0.80) ส่วนการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรและนักศึกษาที่มีเพศและสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัญหาความคาดหวังความต้องการและความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีการศึกษาไม่แตกต่างกัน
Download
|
19 |
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของงานพัสดุจากกรณีตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
พิชามญชุ์ กาหลง
Keyword:
ประเมินความเสี่ยง, งานพัสดุ, มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้า: 154 - 164
( Download: 1248 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอระบบบริหารความเสี่ยงในงานพัสดุจากกรณีตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเริ่มจากการกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงงานพัสดุ การระบุความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และผู้เขียนได้นำเสนอเหตุการณ์ความเสี่ยงของงานพัสดุ 3 ด้าน ดังนี้1) ด้านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ 1.1) คณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง พิจารณาคุณสมบัติ ราคา การรายงานผลการพิจารณา ละเลย
การตรวจสอบเอกสาร หลักฐานของผู้ยื่นเสนอราคา 1.2) สินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไม่ตรงกับใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง สัญญา 1.3) ความล่าช้าในกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง 1.4) การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ไม่ได้แต่งตั้งบุคลการที่ชำนาญเป็นคณะกรรมการในโครงการที่จัดซื้อ 1.5) การจัดทำราคากลางสูงเกินความเป็นจริง 1.6) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับ 2) ด้านการบริหารสัญญา ได้แก่ 2.1) การจัดทำสัญญาโดยมีข้อความหรือสาระสำคัญในสัญญาผิด 2.2) เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างงานพัสดุเสี่ยงต่อการสูญหาย 2.3) การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุขาดความรู้ ความชำนาญในพัสดุที่ได้ดำเนินการจัดซื้อหรือจ้าง 2.4) ไฟล์สำเนาเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างงานพัสดุเสี่ยงต่อการสูญหาย3) ด้านการควบคุมพัสดุ ได้แก่ 3.1) ทะเบียนคุมครุภัณฑ์ขาดความครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ 3.2) การบันทึกรายการวัสดุสำรองคลังไม่ถูกต้อง 3.3) ทรัพย์สินมีค่าสูญหาย 3.4) ไม่จัดทำเอกสาร หลักฐานการส่งมอบครุภัณฑ์ให้แก่ผู้ใช้งาน 3.5) บุคลากรได้รับอุบัติเหตุจากการเข้าพื้นที่ห้องเก็บพัสดุ 3.6) การลดลงของพื้นที่ใช้สอยในห้องเก็บพัสดุ ผู้เขียนคาดหวังว่าองค์ความรู้จากบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงในงานพัสดุของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่อไป
Download
|
20 |
ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักศึกษาฝึกงานภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้แต่ง:
ละอองแก้ว พาบุ , ภิรมย์ พาบุ
Keyword:
ความพึงพอใจ, สถานประกอบการ, การฝึกงาน
หน้า: 165 - 174
( Download: 134 ครั้ง )
|
Download
|
21 |
การออกแบบและสร้างเครื่องขัดชิ้นงานแบบจานคู่
ผู้แต่ง:
ธนากร เกียรติขวัญบุตร, สุชาติ จันทรมณีย์, -
Keyword:
เครื่องขัดชิ้นงานแบบจานคู่, กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด, กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
หน้า: 175 - 185
( Download: 143 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องขัดชิ้นงานแบบจานคู่ โดยออกแบบโครงสร้างภายนอกที่ทำจากวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม มีกำลังขับของมอเตอร์ คือ 0.55 kW มีแรงดันไฟฟ้า คือ 380 V และเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดจานขัด คือ 205 mm นอกจากนี้ การใช้งานสามารถปรับความเร็วรอบสูงสุดจากชุดควบคุมได้ 500 rpm ซึ่งระนาบและความเร็วรอบจานขัดของเครื่องขัดชิ้นงานที่ได้วิจัยนี้เปรียบเทียบกับเครื่องขัดชิ้นงานที่ซื้อจากต่างประเทศมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P> 0.05) จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างจุลภาคจากการขัดผิวชื้นงานจากเครื่องขัดชิ้นงานแบบจานคู่ที่วิจัยทำการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) และกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscope, OM) สามารถมองเห็นโครงสร้างจุลภาคได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เครื่องขัดผิวชิ้นงานที่วิจัยสามารถลดงบประมาณ ค่าบำรุงรักษา และประหยัดเวลาให้แก่หน่วยงานได้
Download
|
22 |
การวิเคราะห์บทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science
ผู้แต่ง:
พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์
Keyword:
บทความวิจัย, คณะวิทยาศาสตร์, Scopus , Web of Science
หน้า: 186 - 194
( Download: 193 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2559–2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ โปรแกรมค้นหา (search engine) บทความวิจัยของฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า บทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Scopus มีจำนวน 2,436 เรื่อง บทความวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงาน คิดเป็นร้อยละ 73.48 โดยสูงสุดร้อยละ 31.94 เป็นบทความวิจัยในสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ส่วนบทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Web of Science มีจำนวน 2,550 เรื่อง บทความวิจัยที่ถูกอ้างอิงผลงาน คิดเป็นร้อยละ 78.55 โดยสูงสุดร้อยละ 10.71 เป็นบทความวิจัยในสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ซึ่งบทความวิจัยในทั้ง 2 ฐานข้อมูลมีจำนวนใกล้เคียงกัน จำนวนบทความวิจัยที่ถูกอ้างอิงกว่าร้อยละ 70 โดยวารสารวิชาการ Chiang Mai Journal of Science (Q4) เป็นวารสารที่คณะวิทยาศาสตร์เผยแพร่บทความวิจัยสูงสุด และในภาพรวมระดับคุณภาพวารสารวิชาการที่คณะวิทยาศาสตร์เผยแพร่บทความวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม (Q1) มาจากผลผลิตบทความวิจัยเผยแพร่ร่วมกับผู้แต่งร่วมจากหน่วยงานอื่นสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Download
|
23 |
ความพึงพอใจต่อการใช้งานในระบบเบิกจ่ายเงินของโปรแกรม PSU Management Accounting System (PSU-MAS) ของบุคลากรกองคลัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วิภาภรณ์ นวลเลิศ
Keyword:
ความพึงพอใจ , การใช้ระบบสารสนเทศ, ระบบเบิกจ่ายเงิน
หน้า: 195 - 203
( Download: 195 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบสารสนเทศด้านการเบิกจ่ายเงิน โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรม PSU Management Accounting System (PSU-MAS) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของกองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 52 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ
โดยแบบสอบถามจำแนกเป็น 2 ด้าน 1) ด้านการใช้งานระบบ 2) ด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวหน้างานมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.35, S.D.=0.59) และด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ( =3.35, S.D.=0.70) 2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก ( =3.73, S.D.=0.84) และด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =3.81, S.D.=0.88) โดยมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือ การพัฒนาโปรแกรมต้องดำเนินการให้สามารถใช้งานด้านการเบิกจ่ายเงินได้ทุกประเภทเอกสารการเบิกจ่าย และสามารถใช้งานโปรแกรมให้ทำงานได้โดยไม่ติดขัด มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงิน
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |