1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การประเมินความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษางานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ทิพย์วรรณ อุดทาคำ, นวพร แสงแดง
Keyword:
ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, บริการ, การวิเคราะห์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน
หน้า: 1 - 14
( Download: 247 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้ใช้บริการงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. ศึกษาข้อมูลการใช้บริการงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ 3. เปรียบเทียบความคาดหวัง และความพึงพอใจการใช้บริการงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ 4. ประเมินระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน (Importance Performance Analysis: IPA) วิเคราะห์ลำดับความสำคัญในการปรับปรุงการให้บริการด้านสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ในแต่ละด้าน เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ 172ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน เปรียบเทียบความคาดหวัง และความพึงพอใจ โดยใช้การทดสอบ Paired Sample T-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประเมินระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน จากผลการเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจด้วยเทคนิค IPA พบว่า ความคาดหวังของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.32 ในขณะที่ความพึงพอใจมีค่าต่ำกว่าความคาดหวัง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.69 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจในแต่ละมิติด้วยเทคนิค IPA พบว่า มิติด้านกระบวนการให้บริการ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ และมิติด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ทุกคุณลักษณะอยู่ใน ส่วนที่ 1 (Quadrant 1) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีความสำคัญมาก จำเป็นต้องได้รับความสนใจ และเร่งแก้ไขปรับปรุง ส่วนมิติด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ มี 6 คุณลักษณะอยู่ใน ส่วนที่ 1 (Quadrant 1) และ มี 2 คุณลักษณะ อยู่ใน ส่วนที่ 2 (Quadrant 2) ซึ่งหมายถึงปัจจุบันดำเนินงานที่ดีอยู่แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการปรับปรุง และผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยและนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะ และแนวทาง การปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาการให้บริการของงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์
Download
|
5 |
การพัฒนาระบบรายงานตัวออนไลน์
ผู้แต่ง:
สุรชัย ตันศิริ
Keyword:
ระบบรายงานตัวออนไลน์, การพัฒนาระบบ, วิธีการแบบอไจล์
หน้า: 15 - 24
( Download: 148 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอขั้นตอนการพัฒนาระบบรายงานตัวออนไลน์ที่ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรายงานตัวเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยในการพัฒนาระบบดังกล่าว ทีมผู้พัฒนาได้ร่วมกันออกแบบขั้นตอนการรายงานตัวออนไลน์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้แผนภาพ BPMN (Business Process Model and Notation) ในการนำเสนอ จากนั้นทำการพัฒนาระบบโดยใช้วิธีการแบบอไจล์(AgileS.D.LC Methodology)ตัวระบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วน Front-End ที่พัฒนาด้วยภาษา JavaScript และเฟรมเวิร์คVue.js 2 ส่วน Back-End ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP 7 และส่วนฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL6 ร่วมกับ MariaDB 10.5 ระบบที่พัฒนาขึ้นได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านฟังก์ชันการใช้งาน ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านความปลอดภัยของระบบ และด้านระบบฐานข้อมูล ได้รับค่าเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก และผลจากแบบสอบถามการใช้งานระบบโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 ของประชากรตัวอย่างทั้งหมด ผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความชัดเจนของขั้นตอนการใช้ระบบอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 และด้านภาพรวมของระบบอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.89 นอกจากนี้ ผลสำรวจการเลือกรูปแบบการรายงานตัว พบว่า มีผู้เลือกรูปแบบการรายงานตัวแบบออนไลน์ ร้อยละ 27 ซึ่งมีจำนวนมากกว่าผู้ที่เลือกรูปแบบการรายงานตัวที่สถานศึกษาที่มีร้อยละ 14 เกือบเท่าตัวและมีผู้ที่เลือกทั้งสองแบบมากที่สุดเป็นจำนวนร้อยละ 59
Download
|
6 |
วิธีการสกัดกรดนิวคลีอิก (NTK) สำหรับการเรียนกลุ่มชีวเคมีพื้นฐานและ การวิจัยทางด้านชีวเคมี
ผู้แต่ง:
ไพศาล ขาวสัก
Keyword:
กรดนิวคลีอิก, ดีเอ็นเอ, การสกัดกรดนิวคลีอิก, วิธีการสกัดดีเอ็นเอ
หน้า: 25 - 34
( Download: 407 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเทคนิคการสกัดกรดนิวคลีอิกถือว่ามีบทบาทที่สำคัญในอณูชีววิทยา ดีเอ็นเอที่ได้ต้องมีคุณภาพและปริมาณสูง อย่างไรก็ตามชุดสกัดดีเอ็นเอมาตรฐานยังต้องใช้อุปกรณ์และสารเคมีที่มีต้นทุนสูงและซับซ้อน วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ พัฒนาวิธีการสกัดกรดนิวคลีอิกที่เรียกว่า วิธี NTK (Nucleic acid Tool Kits) ให้มีความสะดวก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาชีวเคมีพื้นฐานและงานวิจัย โดยประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์และสารเคมีที่มีราคาถูก มีความเหมาะสม สะดวก ประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับชุดสกัดดีเอ็นเอที่ได้มาตรฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัด ตามวิธี NTK กับดีเอ็นเอที่สกัดได้จากวิธีมาตรฐานคือ ชุดสกัดดีเอ็นเอของ Trizol® reagent (Invitrogen, USA), ชุดสกัดดีเอ็นเอของ NucleoSpin® tissue (MACHERREY-NAGEL, Germany), และ ชุดสกัดดีเอ็นเอของ QIAamp® DNA Mini kit (QIAgen, Germany) จากตัวอย่างแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบคือ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Enterococcus faecalis และ Staphylococcus aureus ผลการวิจัยพบว่า ดีเอ็นเอที่สกัดได้ ตามวิธี NTK มีความบริสุทธิ์ ไม่แตกต่างจากวิธีมาตรฐานอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้ดีเอ็นเอที่มีคุณภาพและปริมาณสูงกว่าวิธีมาตรฐานอื่น (p<0.05) ดังนั้น ดีเอ็นเอจากการสกัด ตามวิธี NTK จึงมีคุณภาพสูงกว่าดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัดตามวิธีมาตรฐาน ยืนยันผลการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบด้วยแถบความเข้มของดีเอ็นเอ ที่ได้จากเทคนิคพีซีอาร์ ดังนั้น การสกัดดีเอ็นเอ ตามวิธี NTK เป็นวิธีสกัดดีเอ็นเอที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการสกัดดีเอ็นเอมาตรฐานอื่น ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกกว่า จึงเป็นทางเลือกให้ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และ นักวิจัย ได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัยต่อไป
Download
|
7 |
การทำงานที่บ้านของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ: แนวคิด และประสบการณ์
ผู้แต่ง:
อิทธิพร ขำประเสริฐ
Keyword:
การทำงานที่บ้าน, ชุมชนการปฏิบัติ, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
หน้า: 35 - 46
( Download: 143 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวคิด และประสบการณ์ทำงานที่บ้านของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ศึกษาข้อมูลจากงานเขียน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะการแบ่งปันประสบการณ์จาก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จากการศึกษาพบว่า แนวคิดการทำงานที่บ้านสามารถนำมาใช้ได้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายสนับสนุนวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งควรพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนที่ชัดเจน ซึ่งควรประกอบไปด้วย การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน การพิจารณาลักษณะงานที่สามารถนำกลับไปปฏิบัติได้ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนภายหลังจากการทำงานที่บ้าน สถาบันอุดมศึกษาจึงสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานที่บ้านเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการบริหารจัดการภาระงานให้มีผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ ทั้งในสภาวะที่สถาบันได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือแม้ในสภาวะปกติก็ตาม
Download
|
8 |
การบริหารเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
อัมพวรรณ ปัญญารักษา
Keyword:
การบริหารเงินยืม, ผู้ยืมเงิน, เงินทดรองจ่ายหมุนเวียน
หน้า: 47 - 55
( Download: 271 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการบริหารเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียน ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชากร คือ บุคลากรคณะนิติศาสตร์ จำนวน 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การบริหารเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียนของคณะนิติศาสตร์ในภาพรวมมีการดำเนินการให้บริการที่ดีอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการยืมเงิน ด้านผู้ยืม ด้านกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ด้านความเพียงพอของจำนวนเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียน และด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้านปัญหาและอุปสรรคการให้บริการเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียน พบว่า ผู้ยืมเงินขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียน วงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้ ระบบแจ้งเตือนการชำระเงินไม่ต่อเนื่องและทั่วถึง เป็นต้น สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียน ควรมีคู่มือเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียนสำหรับผู้ยืมเงิน พิจารณาปรับวงเงินยืมให้เพียงพอกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์การใช้เงิน ตลอดจนมีระบบการติดตามแจ้งเตือนการชำระเงินยืมทดรองจ่ายหมุนเวียนที่ต่อเนื่องและชัดเจน ผ่านข้อความมือถือ อีเมล โทรศัพท์ เป็นต้น
Download
|
9 |
การพัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วันชัย แซ่ลิ่ม
Keyword:
ไลน์, แชทบอท, ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ
หน้า: 56 - 65
( Download: 463 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ของสาขาวิชา และกลุ่มงานต่าง ๆ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสอบถามแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ตลอดเวลา ทำให้ช่วยลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยการประยุกต์ใช้บริการข้อความไลน์ตอบกลับอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มไดอะล็อกโฟลว์ ที่มีความสามารถด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ พร้อมทั้งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ ที่เรียกว่า ริชเมนู สำหรับการเข้าใช้งานเว็บไซต์บริการของฝ่ายคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรม ทั้งยังสามารถกระจายข้อมูลถึงผู้ใช้งานเพื่อแจ้งข่าวสาร หรือประชาสัมพันธ์ ในการพัฒนาระบบนี้ใช้กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบซึ่งประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลักประกอบด้วยการออกแบบเบื้องต้น การออกแบบระบบเชิงตรรกะ การออกแบบระบบเชิงกายภาพ การพัฒนาระบบ และการบำรุงรักษาระบบ จากผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบ ได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.31 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.587) ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านการประมวลผลได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.03 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.575) ความพึงพอใจระดับมาก ด้านกระบวนการและขั้นตอนการใช้งาน ได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.23 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.679) ความพึงพอใจระดับมากที่สุด สรุปผลภาพรวมของการประเมินได้รับคะแนนเฉลี่ยรวมที่ 4.19 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.614) ความพึงพอใจระดับมาก
Download
|
10 |
การสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพของหลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผู้แต่ง:
เจนจิรา แก้วมณี
Keyword:
ความพึงพอใจ, การบริหารจัดการ, หลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หน้า: 66 - 76
( Download: 147 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ต่อการบริหารจัดการคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 11 หลักสูตร แยกเป็นระดับปริญญาตรี 10 หลักสูตร ๆ ละ 5 คน และระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร 3 คน รวมทั้งสิ้น 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความน่าเชื่อถือ ระดับความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ ( =4.89, S.D. = 0.23) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี ( = 4.81, S.D.=0.23) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน ( = 4.53, S.D.=0.46) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ( =4.52, S.D.=0.66) และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ( = 4.50, S.D.=0.46) ตามลำดับ และอยู่ในระดับมาก จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ( = 4.49, S.D.=0.53) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ( = 4.22, S.D.=0.43) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ( = 4.38, S.D.=0.48) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ( = 4.19, S.D.=0.81) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ( = 4.15, S.D.=0.50) และหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ ( = 3.93, S.D.=0.93) ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.2558 อยู่ในระดับมากที่สุดและอยู่ในระดับมากตามลำดับ
Download
|
11 |
การพัฒนาทุนมนุษย์ในตัวตนดิจิทัลและจิตวิญญาณอนาล็อก
ผู้แต่ง:
เสาวลักษณ์ นัทธีศรี, รุ่งแก้ว พุ่มโพธิ์, ชิษณุพงศ์ ทองพวง
Keyword:
ทุนมนุษย์, ตัวตนดิจิทัล, ทรัพยากรมนุษย์
หน้า: 77 - 91
( Download: 232 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในตัวตนดิจิทัลที่จิตวิญญาณและหัวใจยังคงเป็นมนุษย์ ฟันเฟืองสำคัญสู่ความสำเร็จ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่เข้ามาใช้ ผ่านการใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ของบุคลากร เพื่อช่วยให้การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ไม่สูญเปล่า โดยบทความนี้ยึดแนวคิดการจัดการองค์การเรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์” ที่ว่า ทรัพยากรมนุษย์จะกลายเป็นทรัพย์สินที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์การ ดังนั้น การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกระดับต้องร่วมกันวางแผนและพัฒนาให้มีศักยภาพและผลิตภาพให้ได้ โดยบทความนี้ประกอบด้วยการนำเสนอ 4 ส่วน ได้แก่ 1) วิวัฒนาการของแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่แนวคิดสมัยใหม่ที่เรียกว่า “ทุนมนุษย์ (Human Capital)” ตลอดจนความแตกต่างของแนวคิดการบริหารบุคคลในอดีตและแนวคิดการจัดการทุนมนุษย์ในปัจจุบัน 2) สาระเกี่ยวกับแนวคิดทุนมนุษย์ 3) แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในตัวตนดิจิทัล ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยพัฒนาและเพิ่มมูลค่าทุนมนุษย์และ 4) หัวใจและจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ที่เครื่องมือดิจิทัลไม่สามารถมาเปลี่ยนแปลงได้
Download
|
12 |
ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โดยใช้ระบบยืนยันตัวตน CMU OAuth
ผู้แต่ง:
อริษา ทาทอง, ถนอม กองใจ
Keyword:
เว็บแอปพลิเคชันออนไลน์, ระบบจัดเก็บ, สืบค้น, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
หน้า: 92 - 102
( Download: 918 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีแนวคิดในการจัดทำระบบสำหรับจัดเก็บไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเก็บรวบรวมเอกสารงานสารบรรณ เช่น คำสั่ง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ รายงานการประชุม โครงการ และเอกสารหลักสูตร ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นไฟล์เอกสารได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มเว็บแอปพลิเคชันออนไลน์รองรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สมาร์ตโฟน ระบบถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP HTML และโปรแกรม WordPress ในการทำระบบบริหารจัดการข้อมูล และหน้าจอแสดงผล มีการลงชื่อเข้าใช้งานระบบด้วยบัญชีรายชื่อผู้ใช้ CMU IT Account ผ่านระบบยืนยันตัวตนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMU OAuth โปรแกรมถูกทดลองติดตั้งและใช้จัดเก็บไฟล์เอกสารภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ย้อนหลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 จนถึงปัจจุบัน ระบบกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานระบบเฉพาะบุคลากรสังกัดภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 36 คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่า ระบบช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการสืบค้นเอกสาร ได้รับไฟล์เอกสารที่ถูกต้อง ลดเวลาและขั้นตอนการสืบค้นเอกสาร ช่วยพัฒนาการให้บริการและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการในการสืบค้นเอกสารให้แก่บุคลากรที่ติดต่อขอใช้เอกสารรองรับการจัดเก็บไฟล์เอกสารได้หลายรูปแบบและจัดเก็บไฟล์ได้เป็นจำนวนมาก มีการจัดหมวดหมู่เอกสารให้สืบค้นได้ง่าย ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ ผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 สรุปได้ว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ดังนั้นระบบที่จัดทำขึ้นนี้สามารถนำไปใช้จัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้สอดคล้องการบริหารงานตามแนวทางที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
Download
|
13 |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการฝึกอบรมโครงการคอมพิวเตอร์ลิทเทอร์เรซี่ กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ผู้แต่ง:
เนาวรัตน์ ทองไทย
Keyword:
โครงการคอมพิวเตอร์ลิทเทอร์เรซี่, การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์, นักศึกษา
หน้า: 103 - 112
( Download: 125 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการฝึกอบรมโครงการคอมพิวเตอร์ลิทเทอร์เรซี่ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 450 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคว-สแควร์ ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ เนื้อหาของหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ =4.47, S.D.=0.49 2) ด้านราคา ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ มีราคาให้เลือกตามระดับความยากง่ายของหลักสูตร =4.69, S.D.=0.61 3) ด้านบุคลากร ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ วิทยากรมีความรู้ความสามารถ และเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลถูกต้องรวดเร็ว =4.52, S.D.=0.59 และ =4.52, S.D.=0.69 ตามลำดับ 4) ด้านส่งเสริมการตลาด ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ การจัดอบรมฟรีในบางหลักสูตร = 4.48, S.D.=0.69 5) ด้านกระบวนการ ปัจจัยที่มีผลมาก คือ ระบบรับสมัครไม่ยุ่งยากซับซ้อน =4.16, S.D.=0.82 6) ด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยที่มีผลมาก คือ การประชาสัมพันธ์เนื้อหาหลักสูตรที่ชัดเจน =4.00, S.D.=0.89 7) ด้านภาพลักษณ์ทางกายภาพ ปัจจัยที่มีผลมากคือ ห้องอบรมมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์เพียงพอและทันสมัย =3.65, S.D.=0.84 และพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการฝึกอบรมโครงการคอมพิวเตอร์ลิทเทอร์เรซี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Download
|
14 |
ทางเลือกใหม่ของการทดลองกฎของฮุค
ผู้แต่ง:
นัฐชยพงศ์ ธีรัชตระกูล
Keyword:
กฎของฮุค, แรงตึงเริ่มต้น, มอดูลัสเฉือน
หน้า: 113 - 120
( Download: 308 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในรายงานฉบับนี้ ได้เสนอทางเลือกใหม่ในการทดลองกฎของฮุค โดยเพิ่มเติมการหาค่าแรงตึงเริ่มต้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่สปริงกับความยาวของสปริง การหาค่าคงที่สปริงที่ต่อแบบอนุกรมโดยการใช้สปริงเพียงเส้นเดียว นอกจากนั้นยังได้หาค่ามอดูลัสเฉือนของวัสดุที่ใช้ทำสปริงด้วย จากการทดลองได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและสอดคล้องกับการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเป็นอย่างดี การจัดชุดการทดลองที่เรียบง่ายได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและมีประโยชน์ทางการศึกษา ทำให้การทดลองนี้น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1
Download
|
15 |
ปัจจัยที่มีผลต่อการพ้นสภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ธานินทร์ เงินถาวร
Keyword:
การพ้นสภาพของนิสิต, นิสิตระดับปริญญาตรี, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 121 - 128
( Download: 207 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพ้นสภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2557-2563 โดยการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการพ้นสภาพที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการพ้นสภาพ คือ ศึกษาเกินระยะเวลาที่กำหนด (r=0.561, p <0.01) คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึงเกณฑ์ (X7) (r=0.427, p <0.01) เสียชีวิต (X6) (r=0.332, p <0.01) ลาออก (X3) (r=0.291, p <0.01) ไม่ชำระค่าลงทะเบียน (X5) (r=0.273, p <0.01) และไม่มารายงานตัวเป็นนิสิต (X2) (r=0.185, p <0.01) ปัจจัย การพ้นสภาพของนิสิตที่มีอำนาจในการพยากรณ์ปัจจัย การพ้นสภาพของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ สำเร็จการศึกษา ลาออก ไม่ชำระค่าลงทะเบียน และศึกษาเกินระยะเวลาที่กำหนด โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 50.6 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ (SEest) เท่ากับ 0.435 สมการณ์การพ้นสภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยได้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = 0.702X1 - 0.185X3 + 0.096X5 + 0.097X7 มีค่าความคลาดเคลื่อนการพยากรณ์ 0.435 มีอำนาจร่วมกันในการทำนายการพ้นสภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มีสาเหตุมาจากความผันแปรของตัวแปรทั้งสี่ เท่ากับ 50.6 ส่วนที่เหลืออีก 49.4 เกิดจากสาเหตุอื่น
Download
|
16 |
แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
Keyword:
แนวทาง, การดำเนินงาน, เกณฑ์คุณภาพการศึกษา, การดำเนินงานที่เป็นเลิศ
หน้า: 129 - 137
( Download: 762 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางที่สำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำไปสู่การเข้าร่วมโครงการ EdPEx200 กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการประจำคณะ หัวหน้ากลุ่มงานและบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 48 คน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพ พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 22 คน ร้อยละ 45.83 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน จำนวน 34 คน ร้อยละ 70.83 ระยะเวลาการปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 21 คน ร้อยละ 43.75 และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 41 คน ร้อยละ 85.42 เมื่อทำการพิจารณาถึงแนวทางที่สำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่นำไปสู่การเข้าร่วมโครงการ EdPEx200 พบว่า ในภาพรวม ( =3.99, S.D.=0.57) ระดับแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์มาก และเมื่อทำการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทผู้บริหารการนำองค์กร สูงเป็นอันดับแรก ( =4.16, S.D.=0.55) ระดับแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์มาก รองลงมาได้แก่ การนำองค์กรอย่างมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์( =4.12, S.D.=0.57) การสื่อสารและการสร้างความเข้าใจ ( =4.10, S.D.=0.45) การถ่ายทอดค่านิยมให้เกิดผลทางปฏิบัติ ( =4.04, S.D.=0.43) การตั้งเป้าหมายความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า ( =4.01, S.D.=0.50) การวัดผล วิเคราะห์ ปรับปรุงผลการดำเนินงาน ( =3.97, S.D.=0.71) การให้ความสำคัญกับบุคลากร ( =3.83, S.D.=0.68) และ
การออกแบบการบริหารจัดการกระบวนการ ( =3.71, S.D.=0.65)
Download
|
17 |
การพัฒนาระบบบริหารงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผู้แต่ง:
อุเทน หินอ่อน
Keyword:
การพัฒนาระบบ, การบริหารงบประมาณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
หน้า: 138 - 147
( Download: 125 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2) ประเมินระบบบริหารงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางวิธีศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนาตามแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ใช้งานระบบ จำนวน 15 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 3 คนโดยวิธีเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2) แบบประเมินระบบบริหารงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารและปฏิบัติงานด้านงบประมาณได้เป็นอย่างดี โดยผลการประเมินระบบจากผู้ใช้งาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 และผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
Download
|
18 |
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการตรวจประเมินรูปแบบออนไลน์ ของผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ปิยะณัฐ พรมสาร, สุภาภรณ์ ทิมสำราญ, กิตติยา เยือกเย็น, บุณฑริกา แจ้งเจริญกิจ
Keyword:
ความพึงพอใจ, การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน, ออนไลน์
หน้า: 148 - 159
( Download: 180 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อการตรวจประเมินรูปแบบออนไลน์ของผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับส่วนงาน โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2563 จำนวน 114 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเองโดยมี 3 ส่วน คือ ส่วนข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการตรวจประเมิน ส่วนความพึงพอใจในกระบวนการตรวจประเมินออนไลน์ และส่วนข้อเสนอแนะอื่น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 40-55 ปี อายุงานมากกว่า 10 ปี เป็นบุคลากรสายวิชาการ และดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ความชำนาญในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office และ Cisco Webex Meetings อยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจโดยรวมต่อการตรวจประเมินรูปแบบออนไลน์มากที่สุด ( =4.22, S.D.=0.60) โดยด้านช่องทางการสื่อสารของกระบวนการตรวจประเมิน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.39, S.D.=0.57) ด้านเอกสารประกอบกระบวนการประเมินมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.21, S.D.=0.60) และด้านระบบการประชุมออนไลน์ของกระบวนการตรวจประเมินมีระดับความพึงพอใจมาก ( =4.08, S.D.=0.63) โดยปัจจัยส่วนบุคคลในด้านประสบการณ์ในการเป็นผู้ตรวจประเมิน (p=0.040) และด้านความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมการประชุมออนไลน์ด้วย Cisco Webex Meetings (p=0.000) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจโดยรวมในการตรวจประเมินรูปแบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Download
|
19 |
ประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
ผู้แต่ง:
สุริยันต์ บุญเลิศวรกุล, ภาคิน สุดจิตร, รัตติกาล เดชกล้า, เสาวลักษณ์ ทองสง, วรารัตน์ ตงอ่อน, ธนบดี เพชรด้วง, ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง
Keyword:
คุณภาพบริการ, การยอมรับบริการประสิทธิผลระบบสารสนเทศ, งานทะเบียนนักศึกษา
หน้า: 160 - 169
( Download: 283 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการบริการ การยอมรับบริการ และระดับความพึงพอใจต่อประสิทธิผลการบริการระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษา 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจต่อประสิทธิผลบริการระบบสารสนเทศ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการให้บริการระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังที่ลงทะเบียนเรียนและกำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 345 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการบริการ การยอมรับบริการ และความพึงพอใจต่อประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและปัจจัยการยอมรับบริการสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศงานทะเบียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาสำคัญที่พบจากการใช้งานระบบ ได้แก่ ข้อจำกัดของระบบที่ไม่สามารถรองรับการเข้าใช้งานพร้อม ๆ กัน กรณีมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ส่งผลถึงความไม่เสถียรในการเข้าใช้งานระบบ ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถประสิทธิภาพด้านความเร็วในการประมวลผลของระบบ รวมทั้งปรับปรุงพัฒนารูปลักษณ์ของระบบเป็นรูปแบบของแอปพลิเคชันสมัยใหม่ที่ใช้งานง่าย สะดวก และรวดเร็วต่อการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น
Download
|
20 |
การพัฒนาระบบการจองห้องเรียนออนไลน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
นารีจุติ ศรีแสงฉาย, อภิญญา ชุณหะทิพากร, วิภา อินทรสุข
Keyword:
การจองห้องเรียน, ระบบออนไลน์, ความพึงพอใจ, รูปแบบการพัฒนาระบบ
หน้า: 170 - 179
( Download: 284 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการจองห้องเรียนออนไลน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นระบบช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานของหน่วยบริการการศึกษา ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรมีความง่ายต่อการเข้าใช้งานสะดวกและรวดเร็วในการจองห้องเรียน สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันที โดยเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบเป็นแอปพลิเคชันของ G-Suite ของGoogle Inc. ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทำความร่วมมือกับทาง Google เพื่อช่วยสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์ต่อการศึกษา ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยทางได้นำเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาระบบการจองห้องเรียนออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย Google Form สำหรับใช้ทำแบบสอบถามเพื่อใช้จองห้องเรียนออนไลน์ Google Sheet ใช้สำหรับเก็บข้อมูลการตอบกลับ โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและค้นคว้าสูตร ฟังก์ชัน และคำสั่งต่าง ๆ เขียนคำสั่ง (Script) ใส่ใน Google Sheet ให้แสดงผลผ่าน Google Calendar ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเทคนิค Progressive Web App ในการเรียกใช้ระบบได้ง่ายและอย่างรวดเร็ว โดยใช้ Google Site ในการจัดทำคู่มือการใช้ระบบให้ผู้ใช้งานเพื่อเป็นแนวทางการใช้ระบบที่ถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และสามารถนาไปใช้งานได้จริงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฃออิพร้อมทั้งระบบนี้ยังรองรับทุกอุปกรณ์ ทุกระบบปฏิบัติการ และทุกเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้มีประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการจองห้องเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับดีมาก ( =4.51, S.D.=0.18)
Download
|
21 |
การสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Clinical Decision Support
ผู้แต่ง:
ปรียาภรณ์ สุขงาม
Keyword:
ระบบการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์, ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก, ความปลอดภัยของผู้ป่วย
หน้า: 180 - 188
( Download: 504 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาและคัดลอกคำสั่งใช้ยา เป็นสาเหตุอันไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้เกิดการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ซึ่งแนวทางในการลดความคลาดเคลื่อนนี้ คือ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือปรับปรุงระบบงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเข้ามาช่วยปิดช่องโหว่และสนับสนุนการทำงานของแพทย์ให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในการได้รับการรักษา โดยอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ พึงจะได้รับ จึงได้มีการนำเอามาตรฐานการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย สามารถวางแผนการเก็บข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุในเชิงระบบ และวางแนวทางในการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและคัดลอกคำสั่งใช้ยา ส่งผลให้แพทย์สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย อันเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งระบบจะมีการใช้ฐานข้อมูลความรู้ทางคลินิกและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแล้วนำมาวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อส่งข้อมูลไปยังระบบการแจ้งเตือน และแสดงรายละเอียดให้แก่แพทย์เพื่อใช้ในการประกอบการวินิจฉัยโรค ตลอดจนการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถลดระยะเวลาสำหรับการรอรับยาของผู้ป่วย ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานชี้วัดคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างหนึ่งว่าสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด และในอนาคตหากมีการพัฒนาระดับองค์รวม โดยทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการปรับรูปแบบการรับส่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็จะสามารถทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
Download
|
22 |
ความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่มีต่อการสอบออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้แต่ง:
พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา, พรรณวิภา โชคพิกุลทอง, รุ้งนภา สุนทรศารทูล, รัฐธีร์ ไชยสิริวิชญ์, ปิยนุช จันหา
Keyword:
ความคิดเห็น, การสอบออนไลน์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาจารย์, นิสิต
หน้า: 189 - 200
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่มีต่อการสอบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) ศึกษาระดับความพร้อมของเครื่องมือสื่อสารและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการสอบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 389 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วย Google Form ระหว่างวันที่ 16-30 เมษายน 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสอบออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีความกังวลในการสอบออนไลน์ เช่น กลัวเกิดปัญหาระหว่างทำข้อสอบและน้อยที่สุด คือ การสอบออนไลน์ช่วยลดปัญหาการทุจริตได้ 2) ระดับความพร้อมของเครื่องมือสื่อสาร พบว่า มีความพร้อมมากที่สุด คือ Smart Phone และความพร้อมของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ มีความพร้อมมากที่สุด คือ Wifi สาธารณะ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ต้องการให้มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบการสอบออนไลน์ที่นิสิตต้องยืนยันตัวตนในการเข้าทำข้อสอบ ควรบริหารจัดการควรคุมการสอบที่มีคุณภาพเกิดความเป็นธรรมต่อนิสิต ควรมีเงินสนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ตให้นิสิตทุกเดือน และการลดค่าธรรมเนียมการศึกษา และควรจัดให้มีการยืม-คืน Notebook หรือ Tablet หรือ iPad
Download
|
23 |
แนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
ผู้แต่ง:
พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์
Keyword:
ความร่วมมือ, การวิจัย, คณะวิทยาศาสตร์
หน้า: 201 - 209
( Download: 219 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพโครงการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2560-2562 ประชากรที่ใช้ คือ ข้อมูลโครงการวิจัยคณะวิทยาศาสตร์จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เรียงลำดับข้อมูลแสดงผลด้วยตาราง และการขอรับสนับสนุนทุนส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอันดับ 1-20 ของโลก ประชากรที่ใช้ คือ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ผู้ขอรับการสนับสนุนทุนฯ 2) ศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยสัมภาษณ์แบบเจาะจงไปยังผู้บริหารคณะในสายงานวิจัย อาจารย์ผู้สอนที่เป็นศิษย์เก่าจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก รวมถึงอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก จำนวน 6 คน ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 1,143 โครงการ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.46 เป็นโครงการวิจัยจากแหล่งทุนในประเทศ ส่วนแหล่งทุนจากนอกประเทศสูงสุดจากประเทศกลุ่มทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 1.22 โดยในปี 2562 มีอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน หรือคิดเป็น 0.61% จาก 326 คน ตีพิมพ์ผลงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอันดับ 1–20 ของโลกจำนวน 2 ผลงาน หรือคิดเป็น 0.34% จาก 595 ผลงาน 2) แนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประกอบไปด้วยตัวแปร 7 ประการ ตามกรอบแนวคิด 7s ของ McKinsey มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์การและการจัดการที่เอื้อและจะส่งผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ 2) โครงสร้าง 3) ระบบ 4) รูปแบบ 5) การจัดบุคคลเข้าทำงาน 6) ทักษะ และ 7) ค่านิยมร่วม
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |